รายงานการประเมินโครงการบริหารจัดการเรียนรู้ STEM ศึกษา
บ้านกาเกาะระโยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ผู้วิจัย นายสุริยา ศรีประสาร
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการบริหารจัดการเรียนรู้ STEM ศึกษาพัฒนาสู่อาชีพของโรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เพื่อประเมิน 4 ด้าน คือ บริบท (Context Evaluation) ปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) กระบวนการ (Process Evaluation) และผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการบริหารจัดการเรียนรู้ STEM ศึกษาพัฒนาสู่อาชีพของโรงเรียนบ้านกาเกาะระโยงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียน โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 565 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมิน ในภาพรวมทุกด้านของโครงการบริหารจัดการเรียนรู้ STEM ศึกษาพัฒนาสู่อาชีพของโรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ตามรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) โดยใช้แบบสอบถาม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีการประเมินแต่ละด้าน สรุปได้ดังนี้
การประเมินโครงการบริหารจัดการเรียนรู้ STEM ศึกษาพัฒนาสู่อาชีพ โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ดำเนินตามรูปแบบการประเมินทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลการประเมินมีความเชื่อมั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด คือ การดำเนินงาน มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาการดำเนินงาน การศึกษาความต้องการของบุคลากรที่ร่วมดำเนินกิจกรรม โดยประสานกับนโยบายของโรงเรียน วางแผนและจัดทำกิจกรรมพัฒนาให้ตรงตามสภาพที่แท้จริงมากที่สุด ทำให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวคิดในการวางแผนที่กล่าวว่า ถ้าหน่วยงานใดมีการวางแผนโดยวางแผนเป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพมีแผนงานที่ดีตั้งแต่ต้นการปฏิบัติงานตามแผนย่อมมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนั้นการจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานตามขั้นตอนโดยละเอียด การดำเนินงานตามปฏิทินปฏิบัติงานที่กำหนดทุกขั้นตอน และทุกกิจกรรม ทำให้ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพ โดยเฉพาะการนิเทศติดตามกำกับ และให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้ทรรศนะถึงวิธีให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานว่า การเอาใจใส่ดูแลผู้ปฏิบัติงาน เป็นการให้ขวัญและกำลังใจอย่างหนึ่ง สำหรับการประเมินกิจกรรมนับเป็นส่วนสำคัญยิ่งอีกส่วนหนึ่ง ที่ช่วยให้ผู้รับผิดชอบกิจกรรมและผู้ร่วมดำเนินกิจกรรมทราบผลสำเร็จของการดำเนินงานเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุง แก้ไขการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ผลการประเมินโครงการบริหารจัดการเรียนรู้ STEM ศึกษาพัฒนาสู่อาชีพ โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 เป็นดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการบริหารจัดการเรียนรู้ STEM ศึกษาพัฒนาสู่อาชีพ โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ตามรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) โดยใช้แบบสอบถาม พบว่า
โดยภาพรวมทั้งโครงการพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายประเด็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านผลผลิต 2) ด้านกระบวนการ 3) ด้านปัจจัยป้อน 4) ด้านบริบท โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และผลการประเมินเป็นรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1.1 ผลการประเมินด้านบริบท ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 รายการ และตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 7 รายการ รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการมีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือ กิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมและปฏิบัติจริงได้ และรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านอาคารสถานที่มีเพียงพอในการจัดโครงการ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 6 รายการ และตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากจำนวน 4 รายการ รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ รองลงมาคือ งบประมาณที่ได้รับในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ และรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ มีสื่อที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนแบบ STEM ศึกษาซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 6 รายการ และตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากจำนวน 4 รายการ รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม รองลงมาคือ กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม และรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ มีการเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติกิจกรรม สู่ชุมชน ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 8 รายการ และตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากจำนวน 2 รายการ รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้เรียนมีแนวทางสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ รองลงมาคือ นักเรียนได้รับผลประโยชน์จากการปฏิบัติงาน/โครงการ/กิจกรรม และรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียน ได้นำความรู้วิทยาศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถคิดแก้ปัญหาได้ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน
คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้เรียน และผู้ปกครอง เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสอบถามด้วยแบบสอบถาม และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงที่ได้จากการสัมภาษณ์ สรุปได้ว่าโครงการบริหารจัดการเรียนรู้ STEM ศึกษาพัฒนาสู่อาชีพ โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 เป็นโครงการที่บรรลุวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะผู้บริหารโรงเรียนได้ปฏิบัติตามนโยบาย ประกอบกับผู้บริหารได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถทักษะความเป็นผู้นำของตนเองจนสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับของบุคลากรในโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนยึดหลักการบริหารงานบุคคล หรือหลักความเหมาะสม โดยการใช้คนให้เหมาะสมกับงานและความรู้ความสามารถ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ ทำให้บุคคลมีความ พึงพอใจ และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นและเกิดความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมองหมายให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนของลัดดาวัลย์ ใจไว (2558) ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเองไปพร้อมกันด้วย การให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามสาระและหน่วยการเรียนรู้โดยบูรณาการกิจกรรมโครงงาน STEM ศึกษาพัฒนาสู่อาชีพ กำหนดวิธีการวัดประเมินผล สนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน โดยครอบคลุมภูมิปัญญาท้องถิ่นการบริหารการเงินอย่างถูกต้อง การเอาใจใส่ใกล้ชิดครู ส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมการประชุมอบรม โรงเรียน เปิดโอกาสให้ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานธุรการและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา ทำให้ระดับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ ภัทรกร มิ่งขวัญ (2559) ที่ศึกษาเรื่องการศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก และผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ ผู้เรียนมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
การบริหารการจัดการเรียนรู้กิจกรรมโครงงาน STEM ศึกษาพัฒนาสู่อาชีพของโรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง สามารถทำให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทำให้นักเรียนสามารถใช้ความรู้ที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอนที่แทรกกิจกรรมโครงงาน STEM ศึกษาพัฒนาสู่แนวทางการประกอบอาชีพระหว่างเรียนหรือหลังจากสำเร็จการศึกษาได้ การใช้กลยุทธ์ที่สอดรับกับนโยบาย กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนที่มี ส่วนเกี่ยวข้องได้ทำงานตามหน้าที่ของตนเองอย่างสอดคล้องกัน และมีการสร้างเครือข่ายเป็นกลไกการขับเคลื่อนสามารถดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย
โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยงมีการวางแผนการจัดการศึกษาการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ตามแนวทางการพัฒนาการศึกษา มีการจัดการเรียนการส่งเสริมวิชาชีพ โดยมีการวางแผนการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนเพื่อช่วยเหลือครอบครัว นำเอาผลผลิตที่ได้จากการเรียนการสอนให้กับนักเรียนนำไปใช้ในการประกอบอาหารสำหรับนักเรียนอีกด้วย การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการที่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีโอกาสได้ร่วมการดำเนินงานในทุกกระบวนการบริหาร ทั้งร่วมกันเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน ร่วมกันแก้ไขปัญหาและร่วมกันชื่นชมความสำเร็จอย่างภาคภูมิใจ ซึ่งการบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการบริหารที่ใช้การจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาการปฏิบัติให้มีคุณภาพสูงขึ้นองค์ประกอบด้านผลผลิต ประกอบด้วย ผลผลิตด้านคุณภาพผู้เรียนและผลผลิตด้านประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของณรงค์ อภัยใจ (2560)