LASTEST NEWS

01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 

รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก

usericon

รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2560 : 10)
ผลการสำรวจสาเหตุเด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์พบว่า เด็กไทยขาดทักษะทั้งการใช้ ความคิดรวบยอดและทักษะการแก้ปัญหา โดยปัญหาหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน คือปัญหานักเรียนไม่ชอบคิดและขาดทักษะการแก้ปัญหา ไม่สามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาได้ (สมวงษ์ แปลงประสพโชค และคณะ, 2556: 6)
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.    เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2.    เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3.    เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ขอบเขตของการศึกษา
1.    กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2.    ตัวแปรที่ศึกษา
2.1    ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2.2    ตัวแปรตาม ได้แก่
2.2.1        ผลการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2.2.2    ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
ระยะเวลาในการศึกษาครั้งนี้ คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ตังแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2563 ถึง วันที่ 27 สิงหาคม 2563 โดยใช้เวลาจำนวน 17 ชั่วโมง

เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา
เนื้อหาตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช
2560 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
1.    แบบทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์
2.    ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
3.    แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
4.    แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สรุปและอภิปรายผล
สรุปผลที่ได้รับ
1.    ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (E1/E2) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.03/80.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2.    นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ก่อนเรียน
3.    นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 แสดงว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล
รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้
1.    ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง เรื่อง การบวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 81.03/80.10 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80 / 80
2.    ผลการทดสอบวัดทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3.    ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก อยู่ในระดับมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^