การประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านบุ(ประชารัฐพัฒนา) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ของ Stufflebeam มาประเมินโครงการใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น(Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) และด้านผลผลิต (Product) และการศึกษาความพึงพอใจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2-มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 44 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 316 คน ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบประเมินในการดำเนินงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจโครงการพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านบุ(ประชารัฐพัฒนา)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ด้านบริบท ตามความเห็นผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยการนำเข้า ตามความเห็นผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ ตามความเห็นผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
และเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต ตามความเห็นผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
และผลการประเมินด้านความพึงพอใจ พบว่า
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ตามความเห็นผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การคัดกรองนักเรียน ตามความเห็นผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การส่งเสริม พัฒนา การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ตามความเห็นผู้บริหาร ครูผู้สอน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. การส่งต่อ/ติดตามนักเรียน ตามความเห็นผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด