รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
ชื่อรายงาน นางศรีสุดา พุทธรักษา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านก่อนาดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทเป็นการประเมินความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าเป็นการประเมินเกี่ยวกับความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการเป็นการประเมินเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามมาตรการ 5 ด้าน คือ มาตรการด้านป้องกัน มาตรการด้านการค้นหา มาตรการด้านการรักษา มาตรการด้านการเฝ้าระวัง และมาตรการด้านการบริหารจัดการ และด้านผลผลิตเป็นการประเมินนักเรียนในด้านความพึงพอใจของนักเรียนต่อคุณภาพการปฏิบัติตนตามพฤติกรรมทักษะชีวิต และความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ รูปแบบที่ใช้ในการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการใน ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 32 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คนรวมทั้งสิ้น 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาค่าความตรงของเครื่องมือ (Validity) ใช้สูตร IOC หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยการหาค่าความเชื่อมั่นแบบ Alpha Co-efficient ตามสูตรของครอนบาค (Cronbach) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป IBM SPSS Statistics 26
ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินโครงการการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนประเมิน 91.0 คะแนน และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบริบท ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัดสรุป ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ซึ่งตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และตัวชี้วัดความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก คือ ตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านกระบวนการดำเนินงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดด้านการป้องกัน ตัวชี้วัดด้านการค้นหา และตัวชี้วัดด้านการเฝ้าระวัง ตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดด้านการรักษา และตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการ ด้านผลผลิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาผลการประเมินตัวชี้วัดแล้ว พบว่า ผ่านทุกตัวชี้วัด โดยทุกตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ใระดับมากที่สุด คือ ตัวชี้วัดความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ใระดับมาก คือ ความคิดเห็นของนักเรียนต่อคุณภาพการปฏิบัติตนตามพฤติกรรมทักษะชีวิต ตัวชี้วัดความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ตัวชี้วัดความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. ผลการประเมินโครงการภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยา
เสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยประเด็นการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ประเด็น คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ผลการประเมิน และด้านผลผลิต