การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
ชื่อผู้รายงาน : นางสาวอัมพร ชุนถนอม รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม
ปีที่ศึกษา : 2564
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียนโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียนโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ตามรูปแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียนโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 751 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน ครูผู้สอน 81 คน นักเรียน 327 คน และผู้ปกครองนักเรียน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ 1) แบบสอบถามผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียนโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านสภาพแวดล้อม โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยเบื้องต้น โครงการพัฒนา แหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน ซึ่งแบบประเมินโครงการทุกฉบับมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า .80 ขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.52, S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.66, S.D. = 0.59) ด้านสภาพแวดล้อม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.61, S.D. = 0.61) ด้านกระบวนการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.51, S.D. = 0.69) และด้านผลผลิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.51, S.D. = 0.67)