รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
บ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน ศรีสุดา พุทธรักษา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการความจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเป็นเป็นไปได้ของโครงการ 2)ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่และด้านการบริหารจัดการในการดำเนินโครงการ 3)ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมการปฏิบัติงานตามโครงการในขั้นตอนการวางแผนการดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา 4)ประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของผลการดำเนินงานกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ รูปแบบของการประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็น การประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ประชากรที่ใช้ในการประเมิน คือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 86 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 35 คน ผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 35 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 80 คน ประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู) จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โดยเทียบจากตารางการกำหนดค่าของ Krejcie and Morgan (1970 : 608 – 609 อ้างถึงในยุทธ ไกยวรรณ์. 2546 : 101) จำนวนประชากร 35 คน ใช้กลุ่มตัวอย่าง 32 คน โดยสุ่มจากประชากรด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 32 คน โดยสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วยฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านบริบทของโครงการ มี ค่าความเชื่อมั่น 0.92 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.70 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย ผลการประเมิน 1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.50) 2. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.62 ) 3. ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของ นักเรียนโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.40) 4. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.52) 5. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของ นักเรียนโรงเรียนบ้านก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.44)