รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาฯ
ผู้รายงาน นายหาญณรงค์ กระจงจิตร
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) การประเมินครั้งนี้ผู้รายงานใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยมีขอบเขต ด้านเนื้อหาในการประเมินโครงการ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 23 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 127 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 127 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และใช้ตารางการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นดำเนินการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความร่วมมือของหน่วยงานภายนอกที่ให้การสนับสนุนทรัพยากร และฝึกอบรมให้ความรู้ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำ และให้กำลังใจในการทำงาน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านคำพอุง(ประชาราษฎร์บำรุง) ซึ่งประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความพอประมาณ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนได้เหมาะสมหรือพอประมาณกับศักยภาพของตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ในส่วนของการประเมินคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว