การพัฒนาครูออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์..
ชื่อเรื่อง การพัฒนาครูออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic
Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายธนาชัย ไชยสัตย์
ปีที่ทำวิจัย 2564 - 2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการพัฒนาครูออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2. เพื่อพัฒนาครูออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3. เพื่อประเมินผลการพัฒนาครูออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาการพัฒนาครูออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี พบว่า การดำเนินการพัฒนาครูออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี วงรอบที่ 1 โดยรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน และวิเคราะห์ผลการพัฒนา ผลงานการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) สามารถทำให้กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 23 คน เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) มีคะแนนจากการทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษา แบบองค์รวม (Holistic Education) มีคะแนนเฉลี่ย 25.91 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.38 จากคะแนนเต็ม ออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) โดยรวมอยู่ในระดับดี มีความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ได้ และมีผลออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) โดยรวมอยู่ในระดับดี จำนวน 14 คน ระดับปานกลาง จำนวน 9 คน ซึ่งต้องดำเนินการพัฒนาให้มีคุณภาพบรรลุเป้าหมายทุกคน สำหรับการดำเนินการพัฒนาออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนอย่างต่อเนื่อง เน้นการนิเทศเป็นรายบุคคลประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่กิจกรรมการนิเทศออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) และกิจกรรมการนิเทศการประเมินผลการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) พบว่า กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) สามารถสร้างหรือออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก แสดงให้เห็นว่า การดำเนินการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ทั้ง 2 วงรอบ สามารถพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ได้อย่างมีคุณภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ พบว่า ครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี มีความพึงพอใจต่อกระบวนการการพัฒนาครูออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษา แบบองค์รวม (Holistic Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar = 4.75, S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การถ่ายทอดของวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ (x-bar = 4.87, S.D. = 0.34) เป็นกระบวนการการพัฒนาครูออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ของครูโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ที่ช่วยได้สำเร็จ (x-bar = 4.8, S.D. = 0.34) ระยะเวลาในการดำเนินการมีความเหมาะสม (x-bar = 4.86, S.D. = 0.34) การวางแผนในการดำเนินการพัฒนา(x-bar = 4.83, S.D. = 0.38) ทั้งนี้บุคลากร ยังมีความภาคภูมิใจ เกิดความมุ่งมั่น และตั้งใจจริงที่จะนำกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะด้วยโมเดลการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ไปดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสูงขึ้นต่อไป