รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนบ้านควนพลี
รายงานการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนบ้านควนพลี ปีการศึกษา 2564 ตามรูปแบบการประเมินซิปป์โมเดล (CIPP Model) โดยประเมินเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนบ้านควนพลีปีการศึกษา 2564 ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 10 คน และนักเรียน จำนวน 63 คน รวมทั้งหมด 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มี 5 ฉบับ ฉบับที่ 1 – 4 สำหรับครูผู้สอน จำนวน 74 ข้อ ดังนี้ ฉบับที่ 1 จำนวน 9 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 ฉบับที่ 2 จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 3 จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ฉบับที่ 4 จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และฉบับที่ 5 สำหรับนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนบ้านควนพลี ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.44, S.D. = 0.67) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ของโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนบ้านควนพลี ของครูผู้สอน พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.40, S.D. = 0.72) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนบ้านควนพลี ของครูผู้สอน พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.43, S.D. = 0.64) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนบ้านควนพลี ของครูผู้สอน พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับระดับมาก (x-bar = 4.41, S.D. = 0.66) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนบ้านควนพลี ของครูผู้สอนและนักเรียน พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.53, S.D. = 0.64) ผ่านเกณฑ์การประเมิน