ประเมินโครงการ
สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางสาวนันทาทิพย์ เพชรสุวรรณ
รองผู้อำนวยการโรงเรียนวิเชียรชม
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ จำแนกเป็น 1) คุณภาพของการพัฒนาศักยภาพครู 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู 3) คุณภาพผู้เรียน 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดําเนินงานโครงการ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 91 คน นักเรียน จำนวน 405 คน ผู้ปกครอง จำนวน 391 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล มี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ โดยแบบสอบถามทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง .921 - .992 และแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.35) รองลงมา กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = 0.41)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์และทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพร้อมด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D.= 0.46) รองลงมา คือด้านความพร้อมด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D.= 0.37) ส่วนด้านความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.36, S.D.= 0.42) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ WISDOM MODELโรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.45) ส่วนกลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.28 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564
4.1 ผลการประเมินด้านคุณภาพการพัฒนาศักยภาพครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.40) รองลงมา คือกลุ่มครู ( = 4.31, S.D. = 0.37) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.20 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
4.2 ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.44) รองลงมา คือกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.24, S.D. = 0.51) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.26 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
4.3 คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนวิเชียรชม
4.3.1 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาโรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย เท่ากับ 87.69 เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับชั้นพบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 94.80 รองลงมาได้แก่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 93.41 ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 79.71 แสดงให้เห็นว่าโดยภาพรวม คะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โดยรวม โรงเรียนวิเชียรชม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 48.76 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 38.63 และระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ย 40.19 แสดงให้เห็นว่าโดยภาพรวม คะแนนเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 1) และระดับประเทศ
สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.53 , S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.20 , S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรประสานงานขอการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์จากหน่วยงานภายนอกให้มากยิ่งขึ้น
1.2 โรงเรียนควรจัดโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนวิเชียรชม อย่างต่อเนื่อง
1.3 ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรนำรูปแบบหรือวิธีการประเมินอื่น ๆ นอกเหนือจากการประเมินโดยใช้ซิป โมเดล (CIPP Model) มาประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODELโรงเรียนวิเชียรชม เพื่อการยืนยันผล
2.2 ควรศึกษาผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ WISDOM MODELโรงเรียนวิเชียรชม ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป