รายงานการประเมินโครงการทุ่งนารีวิถีพอเพียง โรงเรียนบ้านทุ่งนารี
ผู้รายงาน นายเสรี บุญรัศมี รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งนารี
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ปีที่รายงาน 2565
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2564
บทสรุปผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการทุ่งนารีวิถีพอเพียง โรงเรียนบ้านทุ่งนารี ปีการศึกษา 2564 โดย ใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP MODEL) ของดาเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Danial L.Stuffelbeam) มีวัตถุประสงค์และกำหนดขอบเขตการประเมินใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การประเมินนโยบายของโรงเรียน หลักการและเหตุผลของโครงการ จุดประสงค์ของโครงการและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ความต้องการจำเป็นของโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การประเมินสมรรถภาพของโครงการ การออกแบบโครงการ การดำเนินงานของโครงการ ความเหมาะสมของงบประมาณ ความพร้อมของบุคลากร การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของโครงการและกิจกรรมของโครงการ 3) ด้านกระบวนการ ได้แก่ การประเมินขั้นตอนในการดำเนินงาน การจัดสื่ออุปกรณ์ กิจกรรมภายในกระบวนการดำเนินงาน ข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมโครงการ การสนับสนุนและการนิเทศติดตามของผู้บริหาร 4) ด้านผลผลิต ได้แก่ การประเมินความคิดเห็นที่มีต่อผลสำเร็จของกิจกรรมโครงการและความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนต่อรูปแบบกิจกรรมของโครงการ
โครงการทุ่งนารีวิถีพอเพียง โรงเรียนบ้านทุ่งนารี ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วยกิจกรรมในโครงการ จำนวน 10 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ 2) กิจกรรมเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ 3) กิจกรรมเพาะเห็ด 4) กิจกรรมคัดแยกขยะ 5) กิจกรรมผักปลอดสารพิษ 6) กิจกรรมขยายพันธุ์กล้วย 7) กิจกรรมออมวันละ 2 บาท 8) กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ 9) กิจกรรมลูกเสือสร้างวินัย 10) กิจกรรมอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพร
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 11 คน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา ตัวแทนครูผู้สอนและตัวแทนผู้นำศาสนา) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 131 คน และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 131 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 291 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามกำหนดมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ซึ่งประเมินโดย ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ซึ่งประเมินโดยครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบประเมิน ด้านกระบวนการของโครงการ ซึ่งประเมินโดยครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ซึ่งประเมินโดยครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมโครงการ ซึ่งสอบถาม ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งแบบสอบถามแต่ละฉบับมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.944 , 0.920 , 0.966 , 0.982 และ 0.932 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของประชากร ( µ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร ( ) และค่าความเชื่อมั่น
ผลการประเมินโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Content Evaluation) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็น ต่อการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90
5. ผลการสอบถามความพึงพอใจทีมีต่อโครงการทุ่งนารีวิถีพอเพียง โรงเรียนบ้านทุ่งนารี ปีการศึกษา 2564 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 โดยครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความ พึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89