รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้
ผู้รายงาน นายประยูร เทินสะเกตุ
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพการบริหารงานโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของโรงเรียนบ้านชุมแสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ในด้านบริบท 2) เพื่อประเมินสภาพการบริหารงานโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของโรงเรียนบ้านชุมแสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ในด้านปัจจัยพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินสภาพการบริหารงานโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของโรงเรียนบ้านชุมแสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ในด้านกระบวนการ 4) เพื่อประเมินสภาพการบริหารงานโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของโรงเรียนบ้านชุมแสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ในด้านผลผลิต
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 64 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 64 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ 2) แบบประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ 3) แบบประเมินด้านกระบวนการโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ 4) แบบประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ประกอบด้วย เครื่องมือ 6 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ประกอบด้วย 1) แบบประเมินกิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน 2) แบบประเมินกิจกรรมวันสำคัญสานฝันวัฒนธรรรม 3) แบบประเมินกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ กิจกรรมเสียงตามสาย 4) แบบประเมินกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ กิจกรรมเอื้ออาทรพี่สอนน้อง 5) แบบประเมินกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ กิจกรรมอ่านบทเพลงสู่งานเขียน ฉบับที่ 2 แบบประเมินพฤติกรรมนิสัยรักการอ่าน ฉบับที่ 3 แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนในการเรียนที่เกิดจากโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ฉบับที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองต่อกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ฉบับที่ 6 แบบบันทึกการเปรียบเทียบผลการเรียนปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 เครื่องมือมีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาระหว่าง 0.79-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.73-0.75
การประเมินสรุปผล ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.58 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 3 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 2 การกำหนดหลักการของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและนโยบายของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ลำดับที่ 2 คือ ข้อ 1 การกำหนดหลักการของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหา มีค่าเฉลี่ย 4.79 ลำดับที่ 3 คือ ข้อ 3 การกำหนดเป้าหมาย ของโครงการสอดคล้องกับปัญหาและวัตถุประสงค์ของโครงการ และข้อ 9 การกำหนดหลักการ ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 10 มีสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเหมาะสมและส่งเสริมการดำเนินงานโครงการมีสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเหมาะสมและส่งเสริมการดำเนินงานโครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.46
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะ การอ่านออกเขียนได้ โดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.57 โดยรวม เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 9 ข้อ อยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 9 บุคลากรมีคุณภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.76 ลำดับที่ 2 ข้อ 8 ครูผู้รับผิดชอบโครงการมีศักยภาพในการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 4.75 ลำดับที่ 3 ข้อ 4 มีครู บุคลากรรับผิดชอบโครงการเพียงพอ มีค่าเฉลี่ย 4.70 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 1 มีครูรับผิดชอบงานบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนเพียงพอ และข้อ 2 ผู้ช่วยงานบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนเพียงพอ มีค่าเฉลี่ย 4.32
3 ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.66 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 10 ข้อ อยู่ในระดับ มาก 2 ข้อ และมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 9 มีมีการให้คำปรึกษาแนะนำ มีค่าเฉลี่ย 4.76 ลำดับที่ 2 ข้อ 8 มีการส่งเสริมสนับสนุนการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 4.75 ลำดับที่ 3 ข้อ 1 มีมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย 4.72 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ข้อ 2 มีแผนภูมิการบริหารงาน มีค่าเฉลี่ย 4.35
4 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มาก ทุกกิจกรรมและกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน กิจกรรมวันสำคัญสานฝันวัฒนธรรม และกิจกรรมเสียงตามสาย มีค่าเฉลี่ย 4.50 กิจกรรมอ่านบทเพลงสู่งานเขียน มีค่าเฉลี่ย 4.44 ส่วนกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรมเอื้ออาทรพี่สอนน้อง มีค่าเฉลี่ย 4.42
4.1 ผลการประเมินกิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 5 ข้อ อยู่ในระดับมาก จำนวน 6 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 2 อ่านเพราะนักเรียนสนใจครูไม่ได้บังคับ มีค่าเฉลี่ย 4.71 ลำดับที่ 2 ข้อ 11 นักเรียนมีความสนใจ ในการอ่านเพิ่มมากขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.65 ลำดับที่ 3 ข้อ 6 อ่านเพื่อหาความบันเทิง มีค่าเฉลี่ย 4.63 และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 8 มีการบันทึกการอ่านตามความสนใจ มีค่าเฉลี่ย 4.22
4.2 ผลการประเมินกิจกรรมวันสำคัญสานฝันวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 6 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 5 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 8 นักเรียนมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 4.68 ลำดับที่ 2 ข้อ 3 กิจกรรมน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ย 4.65 ลำดับที่ 3 คือ ข้อ 4 นักเรียนมีความสนใจร่วมกิจกรรม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 11 นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้จากวันสำคัญได้ มีค่าเฉลี่ย 4.28
4.3 ผลการประเมินกิจกรรมเสียงตามสาย โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 6 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 7 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 4 มีการแบ่งหน้าที่ของผู้ประกาศ และข้อ 1 ใช้เวลาได้เหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.71 ลำดับที่ 2 ข้อ 12 มีตาราง
ในการออกอากาศ มีค่าเฉลี่ย 4.68 ลำดับที่ 3 ข้อ 2 นักเรียนให้ความสนใจในการฟังเสียงตามสาย และข้อ 3 เป็นรายการที่น่าสนใจมี ค่าเฉลี่ย 4.66 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 5 นักเรียนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเนื้อหาสาระมาออกอากาศ มีค่าเฉลี่ย 4.23
4.4 ผลการประเมินกิจกรรมเอื้ออาทรพี่สอนน้อง โดยรวมอยู่ในระดับ มาก
มีค่าเฉลี่ย 4.42 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 4 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 7 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 7
เวลาที่ใช้ทำกิจกรรมเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.72 ลำดับที่ 2 ข้อ 1 มีความสุขในการร่วมกิจกรรม
มีค่าเฉลี่ย 4.68 ลำดับที่ 3 ข้อ 8 มีมีหนังสือให้เลือกหลากหลาย มีค่าเฉลี่ย 4.55 ข้อที่มีค่าเฉลี่ย
ต่ำที่สุดคือ ข้อ 10 สามารถเขียนสรุปใจความเรื่องที่อ่านได้ มีค่าเฉลี่ย 4.14
4.5 ผลการประเมินกิจกรรมอ่านบทเพลงสู่งานเขียน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก
มีค่าเฉลี่ย 4.44 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 3 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 7 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 10 นักเรียนมีความสุขในการเรียนเพิ่มขึ้นและมีพัฒนาการอ่านและการเขียนตามลำดับมีค่าเฉลี่ย 4.74 ลำดับที่ 2 ข้อ 3 การคัดบทเพลงในการฝึกอ่าน มีค่าเฉลี่ย 4.65 ลำดับที่ 3 ข้อ 1 นักเรียนเรียนรู้จากคำชี้แจงและจากตัวอย่างด้วยความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ย 4.48 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 5 การสรุป
บทเพลง มีค่าเฉลี่ย 4.20
4.6 ผลการประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.58 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 7 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 3 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 2 ให้ความสำคัญของการอ่าน มีค่าเฉลี่ย 4.71 ลำดับที่ 2 ข้อ 4 อ่านอย่างต่อเนื่องทุกวัน มีค่าเฉลี่ย 4.70 ลำดับที่ 3 ข้อ 1 สนใจการอ่าน และข้อ 3 ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการอ่าน มีค่าเฉลี่ย 4.67 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 6 ใช้เวลาในการอ่านเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.37
4.7 ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนในการเรียนที่เกิดจากโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 10 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 5 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 15 นำการอ่านมาเป็นกิจวัตรประจำวัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 12 อ่านทบทวนบทเรียนเมื่อ
มีเวลาว่าง มีค่าเฉลี่ย 4.20
4.8 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.48 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 12 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 4 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 8
ความพึงพอใจต่อเครือข่ายส่งเสริมการอ่านภายใน และข้อ 10 ความพึงพอใจกิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน มีค่าเฉลี่ย 4.62 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 7 การมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่น มีค่าเฉลี่ย 4.18
4.9 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.58 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 14 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 2 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ 4 การมีส่วนร่วมของครู ข้อ 14 ความพึงพอใจกิจกรรมอ่านบทเพลงสู่งานเขียน และข้อ 16 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ มีค่าเฉลี่ย 4.80 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 7 การมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่น และข้อ 9 ความพึงพอใจต่อเครือข่ายส่งเสริมการอ่านภายนอก มีค่าเฉลี่ย 4.20
4.10 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.48 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 9 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 7 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 2 กิจกรรมตรงกับความต้องการ มีค่าเฉลี่ย 4.65 ลำดับที่ 2 ข้อ 16 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ มีค่าเฉลี่ย 4.62 ลำดับที่ 3 ข้อ 10 ความพึงพอใจกิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน และข้อ 14 ความพึงพอใจกิจกรรมอ่านบทเพลงสู่งานเขียน มีค่าเฉลี่ย 4.57 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 7 การมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่นมีค่าเฉลี่ย 4.22
4.11 ผลการเปรียบเทียบร้อยละคะแนนสอบปลายปีของนักเรียนในปีการศึกษา 2563 กับปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.02 เรียงลำดับดังนี้ ลำดับที่ 1 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย
ร้อยละเพิ่มขึ้น 9.67 ลำดับที่ 2 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น 7.78 ลำดับที่ 3 สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น 7.71 ลำดับที่ 4 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น 5.07