รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศรีบุณยาน
ผู้ศึกษา ว่าที่ร้อยเอก วีรพล แป้นพรหม
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนศรีบุณยานนท์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศรีบุณยานนท์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศรีบุณยานนท์ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศรีบุณยานนท์ ลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ กำหนด
ขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จำนวน 324 คน ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับและแบบประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศรีบุณยานนท์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศรีบุณยานนท์ ที่ควรได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย และ8) มีจิตสาธารณะ ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
2. รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศรีบุณยานนท์ มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขอบเขตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 2) การแนวคิดการพัฒนา 3) วัตถุประสงค์ 4) วิธีการ/โครงการ/กิจกรรม 5) วิธีการวัดและประเมินผล 6) แนวทางการนำรูปแบบไปใช้
3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรีย โรงเรียนศรีบุณยานนท์ มีองค์ประกอบของรูปแบบ 6 องค์ประกอบ ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 8 ประการ ได้แก่ 1) ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ด้านซื่อสัตย์สุจริต 3) ด้านมีวินัย 4) ด้านใฝ่เรียนรู้ 5) ด้านอยู่อย่างพอเพียง 6) ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน 7) ด้านรักความเป็นไทย และ 8) ด้านมีจิตสาธารณะ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.74, S.D. = 0.11) และโดยภาพรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.68, S.D. = 0.12)