การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านป่าเลา
ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านป่าเลา
ผู้วิจัย สิบเอกเอกลักษณ์ ป้องกัน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าเลา
ปีการศึกษา 2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพภายในแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านป่าเลา มาตรฐานสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ก่อนและหลังการดำเนินการพัฒนา (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบ การประกันคุณภาพภายในแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านป่าเลา มาตรฐานสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ก่อนและหลังการดำเนินการพัฒนา และ (3) ศึกษาแนวทางพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านป่าเลา ประชากรที่ใช้ใน การวิจัย ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน และ (2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key-Informant) จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบประกันคุณภาพภายในแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านป่าเลา (2) แบบประเมินมาตรฐานสถานศึกษาโรงเรียน บ้านป่าเลา ระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาภาคบังคับ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) ค่าเฉลี่ย ( ) (2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () (3) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม ไม่เป็นอิสระจากกัน (T-test Dependent Sample) และ (4) สถิติเชิงบรรยาย
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบประกันคุณภาพภายใน ผลการประเมินมาตรฐานสถานศึกษา และผลการสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีดังนี้
1.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านป่าเลา รวมเฉลี่ยทั้งหมด (3 ขั้นตอนหลัก 6 ขั้นตอนย่อย) พบว่า ครั้งที่ 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามขั้นตอนหลักเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ขั้นที่ 2 การตรวจสอบ ทบทวน และปรับปรุงคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นที่ 1 การควบคุมคุณภาพ ส่วนขั้นที่ 3 การประเมิน และรับรองคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เมื่อจำแนกตามขั้นตอนย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ขั้นที่ 3 การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามแผนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นที่ 4 การตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา กับขั้นที่ 5 การพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และขั้นที่ 2 การวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา ส่วนขั้นที่ 1 การศึกษาและเตรียมการ ขั้นที่ 3 การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ตามแผน และขั้นที่ 6 การเตรียมการเพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยทุกขั้นตอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนครั้งที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกตามขั้นตอนหลักเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ขั้นที่ 2 การตรวจสอบ ทบทวน และปรับปรุงคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นที่ 1 การควบคุมคุณภาพ ส่วนขั้นที่ 3 การประเมิน และรับรองคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เมื่อจำแนกตามขั้นตอนย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ขั้นที่ 4 การตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นที่ 5 การพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และขั้นที่ 2 การวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา กับขั้นที่ 3 การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามแผน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ส่วนขั้นที่ 1 การศึกษาและเตรียมการ กับขั้นที่ 6 การเตรียมการเพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยทุกขั้นตอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ผลการประเมินมาตรฐานสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา ระดับปฐมวัย พบว่า ครั้งที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการส่วนมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยทุกมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ครั้งที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ส่วนมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยทุกมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
3) ผลการประเมินมาตรฐานสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา ระดับการศึกษาภาคบังคับ พบว่า ครั้งที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ส่วนมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยทุกมาตรฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ครั้งที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน กับมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ โดยทุกมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
4) ผลการสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาโรงเรียน บ้านป่าเลา พบว่า ครั้งที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ 1 การบริหารงานวิชาการ กับด้านที่ 4 การบริหารงานทั่วไป มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านที่ 3 การบริหารงานบุคคล ส่วนด้านที่ 2 การบริหารงานงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนครั้งที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ 1 การบริหารงานวิชาการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านที่ 2 การบริหารงานงบประมาณ และ ด้านที่ 4 การบริหารงานทั่วไป ส่วนด้านที่ 3 การบริหารงานบุคคล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ทุกด้านมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ผลเปรียบเทียบประสิทธิภาพระบบประกันคุณภาพภายใน มาตรฐานสถานศึกษา และ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา ครั้งที่1 และครั้งที่ 2 พบว่าประสิทธิภาพระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านป่าเลา มาตรฐานสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา ระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาภาคบังคับ และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา พบว่า ผลจากการประเมินครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
1.3 ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในแบบมีส่วนโรงเรียนบ้านป่าเลา มีดังนี้
1) แนวทางพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในแบบมีส่วนโรงเรียนบ้านป่าเลา มีดังนี้ (1.1) โรงเรียนจะต้องจัดทำโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (1.2) โรงเรียนจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (1.3) โรงเรียนจะต้องจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลอย่างเพียงพอ (1.4) โรงเรียนจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษา (1.5) โรงเรียนจะต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน (1.6) โรงเรียนจะต้องดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน (1.7) ให้มีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (1.8) โรงเรียนจะต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญ และ (1.9) โรงเรียนจะต้องจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
2) แนวทางพัฒนามาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านป่าเลา มีดังนี้ 2.1) พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และเป็นต้นแบบขององค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) (2.2) สร้างความเข้มแข็งของระบบประกันคุณภาพ และประกันโอกาสทางการศึกษา (2.3) พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (2.4) เสริมสร้างศักยภาพของคณะกรรมการบริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา (2.5) สร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายทางการศึกษา (2.6) ผู้บริหารต้องเป็นที่ยอมรับ มีภาวะผู้นำทางวิชาการ มีวิสัยทัศน์ และ (2.7) ผู้เรียนได้รับโอกาสให้เข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค