การพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการสอนคิดกับเทคนิคหมวก 6 ใบ
ผู้วิจัย นางณัฐธยาน์ ดีบุญมี ณ ชุมแพ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโนนหันวิทยายน อำเภอชุมแพ
จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนคิดกับเทคนิคหมวก 6 ใบ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนคิดกับเทคนิคหมวก 6 ใบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนโนนหันวิทยายน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ใชเวลา 10 ชั่วโมง สัปดาหละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์ เรื่อง การร่วมมือทางเศรษฐกิจ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนโนนหันวิทยายน โดยการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนคิดกับเทคนิคหมวก 6 ใบ จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ เรื่อง การร่วมมือทางเศรษฐกิจ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สาระเศรษฐศาสตร์ เรื่อง การร่วมมือทางเศรษฐกิจ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนคิดกับเทคนิคหมวก 6 ใบ จำนวนนักเรียนทั้งหมด 31 คน ผ่านเกณฑ์คะแนน ร้อยละ 70 ตามที่กำหนดไว้ มีจำนวน 25 คน คิดเป็น ร้อยละ 80.64 และที่ไม่ผ่าน เกณฑ์จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 19.36
2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนคิดกับเทคนิคหมวก 6 ใบ เรื่อง การร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05