การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเร
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
ชื่อผู้ประเมิน : นายจักรพันธุ์ จันทร์ประสิทธิ์
ปีที่ประเมิน : 2564
การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติ
วสุนธราภิวัฒก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยใช้รูปแบบซิปป์โมเดล(CIPP
Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของ
โครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการ
สนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สื่อและ
วัสดุอุปกรณ์ และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการเกี่ยวกับการ
กำหนดทิศทางและกลยุทธ์การดำเนินงานตามแผน การนิเทศกำกับติดตาม การประเมินผลปรับปรุง
พัฒนา การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ 4) เพื่อประเมินผลผลิต เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการ
ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการได้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการ
สถานศึกษา โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์ อำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ในปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน ๓๔๓ คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
ประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน ๓๔๓ คน
ประกอบด้วย 1) ครู จำนวน ๓๐ คน 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑-๓ จำนวน ๑๕๐ คน(สุ่มอย่าง
ง่ายห้องเรียนละ ๕ คน) 3) ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน ๑๕๐คน(เลือกจากผู้ปกครองที่นักเรียนถูกเลือก
เป็นกลุ่มตัวอย่าง) 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๓ คน (ไม่รวมตัวแทนครูและ
ผู้อำนวยการสถานศึกษา)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
จำนวน 4 ฉบับได้แก่แบบสอบถามฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบทและด้านปัจจัย (ประเมินก่อน
ดำเนินงาน) แบบสอบถามฉบับที่2ประเมินด้านกระบวนการ (ประเมินระหว่างดำเนินงาน) แบบสอบถาม
ฉบับที่3ประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับด้านผลการดำเนินงานด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน(ประเมิน
หลังเสร็จสิ้นโครงการ) แบบสอบถามฉบับที่4ประเมินความความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดย
ใช้โปรแกรม SPSS for Windows 16.0 ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นทุกตัวชี้วัดและภาพรวมของโครงการ
ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด
โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดย
เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด
รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความพร้อมและ
เหมาะสมของสถานศึกษาและการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4
ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดย
เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านบุคลากรของสถานศึกษามีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมา คือ
ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5
ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดย
เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมา
คือการรายงานผลและประชาสัมพันธ์การดำเนินงานตามแผนการประเมินผลปรับปรุงพัฒนาและการ
นิเทศกำกับติดตามผล ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า โดยรวมมีผลการดำเนินงานด้านระบบ
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด เมื่อ
พิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละด้านพบว่า
4.1 ด้านผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 10 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การ
ประเมินทั้ง 10 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของ
แต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสุขภาพจิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
ที่สุด รองลงมาคือ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านสังคม
และด้านการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ ด้านความรู้และทักษะและด้านทักษะชีวิต ด้านการรับรู้
และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นด้านอารมณ์ด้านทักษะการแก้ปัญหาตามลำดับ
4.2 ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ
พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่า โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์ สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
นครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นจึงควรให้มีการดำเนินงานตามโครงการนี้ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตาม
ผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุ
วัตถุประสงค์ของโครงการ