รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้
ผู้รายงาน นางสาวดวงฤทัย อังกินันท์
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทการดำเนิน ประเมินปัจจัยนำเข้าประเมินกระบวนการของการดำเนินงาน ประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงาน ประเมินผลกระทบ ประเมินประสิทธิผล ประเมินความยั่งยืน ประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ ของโครงการส่งเสริมการ อ่านออก เขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหาร 4 คน ครูผู้สอน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน โดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 291 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 291 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.30) เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.27) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ ( =4.34) รองลงมา คือ ความพร้อมและศักยภาพของบุคลากร ( =4.30) ความพร้อมของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และICT ( =4.28) และความพร้อมของงบประมาณ ( =4.19) ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.18) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การจัดกิจกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ ตามนโยบาย สพฐ. ( =4.21) รองลงมา คือ กระบวนการกำกับ ติดตาม ประเมินผล ( =4.18) และกระบวนการนำปัญหา อุปสรรค และการนำผลประเมินมาปรับปรุง ( =4.16) ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.15) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ คุณภาพของนักเรียนตามโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ ( =4.18) รองลงมาคือ ครูผู้สอนมีคุณภาพ ( =4.16) นักเรียนมีคุณภาพ ( =4.15) ผู้บริหารมีคุณภาพ ( =4.14) และผลงานต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับ ( =4.13) ตามลำดับ
4.1 ด้านผลกระทบ โดยอยู่ในระดับมาก ( =4.32) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลกับนักเรียน ให้นักเรียนมีทักษะในการอ่านและการเขียนที่มีประสิทธิภาพ ( =4.49) โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลให้นักเรียนมีเจคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทยมากขึ้น ( =4.38) และโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีความเชื่อมั่นไว้วางใจในการให้บุตรหลานเข้ามาเรียน ( =4.28)
4.2 ด้านประสิทธิผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.40) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลให้นักเรียนชั้น ป.1 -6 มีผลด้านการอ่าน การเขียนในการประเมินความสามารถการอ่านการเขียนในระดับดีขึ้นไป อยู่ในระดับยอดเยี่ยม ( =4.42) โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ส่งผลให้นักเรียนมีผลด้านการอ่านออกเขียนได้อยู่ในระดับยอดเยี่ยม ร้อยละ 90 ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ( =4.41) ร้อยละ 80 นักเรียนมีคุณนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ( =4.39) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ ( =4.38)
4.3 ด้านความยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.13) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้เป็นที่ต้องการของโรงเรียน และชุมชน ( =4.15) โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ( =4.13) และโรงเรียนกำหนดยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี ด้านการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ ( =4.12)
4.4 ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.35) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้มีการขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่น ( =4.48) มีแนวทางการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้กับโรงเรียนอื่น ( =4.38) โครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับโรงเรียนอื่น ( =4.29) และโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้มีจุดเด่นในการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลที่มีคุณภาพมากขึ้น ( =4.38)