ขอเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนา
บทเรียนร่วมกัน (Lesson Study)
ชื่อผู้รายงาน : นางสาวศิรินยา สิงห์คำ วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) (2) เพื่อพัฒนาเครือข่ายครูโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) (3) เพื่อประเมินการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) ตามแบบซีโป (CPO ’s Evaluation Model) (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนบัวเชดวิทยา ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน ครู 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินการดำเนินการและแบบสอบถามความพึ่งพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีการทางสถิติเพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอการรายงานโดยวิธีการพรรณนา ผลการพัฒนา พบว่า
1. การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) พบว่า ครูได้นำขั้นตอนการพัฒนาทั้ง 5 ขั้นมาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งครูและผู้บริหารสถานศึกษาร่วมพัฒนางานแบบมีส่วนร่วม ช่วยเหลือและสนับสนุนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นกัลยาณมิตร โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนปรับกระบวนการคิด เปลี่ยนวิธีการสอน ให้ความสำคัญกับนักเรียน เอาใจใส่และวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จากเพื่อนร่วมพัฒนา (Buddy) หัวหน้าวิชาการ และผู้บริหารสถานศึกษาอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย และมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน
2. การพัฒนาเครือข่ายครูโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) พบว่า ครูมีเครือข่าย
ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก มีความเข้าใจวิธีดำเนินการตามกระบวนการทั้ง 5 ขั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกให้กับนักเรียนในห้องเรียน ส่งผลให้ครูสามารถพัฒนาตนเองในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเพื่อนร่วมพัฒนา (Buddy) ทำให้ครูมีเพื่อนร่วมพัฒนาเป็นมิตรต่อกัน ให้ความช่วยเหลือเกื้อxxxลซึ่งกันและกันอย่างเป็นกลัยาณมิตรครูมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ครูมีการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ เตรียมสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า ปรับแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามคำแนะนำของเพื่อนร่วมพัฒนา (Buddy)และหัวหน้าวิชาการ (Mentor) โดยเปิดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
3. การประเมินผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) ตามแบบซีโป (CPO ’s Evaluation Model) ในแต่ละด้านสรุปผลได้ดังนี้
3.1 การประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของการพัฒนา พบว่า ปัจจัยพื้นฐาน ด้านสภาวะแวดล้อมของกิจกรรมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นของกิจกรรมมี ความสอดคล้องกับหลักการและเหตุผลวัตถุประสงค์ และความพร้อมและทรัพยากรของกิจกรรมที่ตั้งไว้
3.2 การประเมินด้านกระบวนการและผลผลิตของการพัฒนา พบว่า กระบวนการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3.3 การประเมินด้านผลผลิตของการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ความพึงพอใจต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) พบว่า ครูมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
จากผลจากการประเมินในแต่ละด้านทำให้สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมได้ว่า การดำเนินงานการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) นี้ได้ผลในระดับมากและเป็นการพัฒนาที่มีประโยชน์สำหรับ ครู ผู้บริหาร ควรมี การดำเนินการพัฒนากิจกรรมนี้ต่อไป