LASTEST NEWS

28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอยุธยานุสรณ์
การประเมินโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) ประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 5) ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามขั้นตอนดังนี้ การประเมินสภาพแวดล้อม การประเมินปัจจัยนำเข้า และการประเมินกระบวนการ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา (ไม่นับรวมผู้รายงาน) ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่นับรวมผู้บริหารสถานศึกษา และตัวแทนครู) จำนวน 120 คน และการประเมินผลผลิตและความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา (ไม่นับรวมผู้รายงาน) ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่นับรวมผู้บริหารสถานศึกษา และตัวแทนครู) จำนวน 120 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 331 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2564 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน รวมทั้งหมด 782 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 8 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อประเมินสภาพแวดล้อม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามเพื่อประเมินผลผลิต ด้านผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 5 แบบสอบถามเพื่อประเมินผลผลิต ด้านผลสำเร็จที่เกิดกับนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 ฉบับที่ 6 แบบสอบถามความพึงพอใจตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 7 แบบสอบถาม ความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ตาม ความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และฉบับที่ 8 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยกำหนดเกณฑ์การประเมิน คือ ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์


    ผลการประเมินพบว่า
    1.    ผลการประเมินสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความจำเป็นต่อการพัฒนานักเรียน รองลงมา คือ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างชัดเจน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนมีการสนับสนุนส่งเสริมการทำงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
    2.    ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมา คือ ด้านบุคลากร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    3.    ผลการประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านดำเนินงานตามแผน รองลงมา คือ ด้านการเตรียมการและวางแผน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการกำกับ ติดตาม และประเมินผล
    4.    ผลการประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สรุปได้ดังนี้
        4.1    ผลการประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน ในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูที่ปรึกษาสามารถดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมา คือ โรงเรียนมีกระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานสามารถตรวจสอบได้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนได้เผยแพร่เอกสารและผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับภาคและระดับชาติ
        4.2    ผลการประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เมื่อนักเรียนมีปัญหาจะได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครูและโรงเรียนอย่างใกล้ชิดทันเวลาและตรงประเด็น รองลงมา คือ นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีพฤติกกรมอันพึงประสงค์ เป็นที่ยอมรับของสังคมและเป็นแบบอย่าง ที่ดีของเยาวชนทั่วไป และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมศาสนาพัฒนาจิตใจ
    5.    ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สรุปได้ดังนี้
        5.1    ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีเอกสารพร้อมใช้งาน รองลงมา คือ มีการเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในโครงการตามความเหมาะสม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีการสร้างขวัญและกำลังใจให้ครูที่ปฏิบัติ
        5.2    ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนสามารถปรึกษาปัญหากับครูปรึกษาได้ทุกเมื่อ รองลงมา คือ เมื่อมีปัญหานักเรียนจะได้รับการดูแล ช่วยเหลือจากโรงเรียนทันที และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมศาสนาพัฒนาจิตใจ
        5.3    ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน รองลงมา คือ ผู้ปกครองพึงพอใจต่อวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของโรงเรียน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้ปกครองพึงพอใจต่อกิจกรรมศาสนาพัฒนาจิตใจ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^