การประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนถาวรานุกูล สพม.สคสส.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวนารีรัตน์ สุวรรณวัฒน์
รองผู้อำนวยการโรงเรียนถาวรานุxxxล
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนถาวรานุxxxล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation)
รูปแบบการประเมินโครงการใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มาเป็นแนวทางในการประเมินโครงการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนถาวรานุxxxล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้นจำนวน 785 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 8 ฉบับ ดำเนินการตามโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเก็บแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย (x-bar) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน
1.ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) พบว่า ผลการประเมิน
โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.81, S.D. = 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า
ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและวัตถุประสงค์ของโครงการสามารถดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จได้ (x-bar= 4.90, S.D. = 0.30) รองลงมา คือ วัตถุประสงค์
ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามและวัตถุประสงค์
ของโรงเรียนสอดคล้องกับสภาพปัญหานักเรียน (x-bar= 4.85, S.D. = 0.36) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโรงเรียนสอดคล้องกับสภาพปัญหานักเรียน (x-bar= 4.75, S.D. = 0.43) ตามลำดับ
2.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) พบว่า ผลการประเมิน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.79, S.D. = 0.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกิจกรรมพบว่ากิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรม อย.น้อย (x-bar= 4.97, S.D. = 0.33) รองลงมา คือ กิจกรรมพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ (x-bar= 4.81, S.D. = 0.32) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย (x-bar= 4.78, S.D. = 0.34) ตามลำดับ
3.ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.79, S.D. = 0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
ตามกระบวนการดำเนินงาน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ขั้นการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา (x-bar= 4.79,
S.D. = 0.33) รองลงมา คือ ขั้นการติดตามและตรวจสอบ (x-bar= 4.86, S.D. = 0.30) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย (x-bar= 4.75, S.D. = 0.41) ตามลำดับ
4.ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) พบว่า
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ตามมาตรการ (3ป.) พบว่าผลการประเมินโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.82, S.D. = 0.37)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มาตรการด้านการปลูกฝัง (x-bar= 4.83, S.D. = 0.36) รองลงมา คือ มาตรการด้านการป้องกัน (x-bar= 4.82, S.D. = 0.37) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการปราบปราม (x-bar= 4.80, S.D. = 0.40) ตามลำดับ
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ฉบับนักเรียน
ตามกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่าผลการประเมินโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.94,
S.D. = 0.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือสถานศึกษาปลอดภัยและกิจกรรม อย.น้อย (x-bar= 4.98, S.D. = 0.13) รองลงมา คือ กิจกรรมสร้างองค์ความรู้ด้านความปลอดภัย (x-bar= 4.94, S.D. = 0.19) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ กิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย (x-bar= 4.90, S.D. = 0.25) ตามลำดับ
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ฉบับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่าผลการประเมินโดยภาพรวม
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.92, S.D. = 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กิจกรรมสร้างองค์ความรู้ด้านความปลอดภัย กิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียน และกิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือสถานศึกษาปลอดภัย (x-bar= 4.94, S.D. = 0.22) รองลงมา คือ กิจกรรมพัฒนาอาคารสถานที่และ
แหล่งเรียนรู้ (x-bar= 4.92, S.D. = 0.27) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย
(x-bar= 4.90, S.D. = 0.29) ตามลำดับ
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการตามความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน พบว่าผลการประเมินโดยภาพรวม
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.95, S.D. = 0.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มีการดูแลสำรวจหรือตรวจสอบความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยกำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจนและนำผลการตรวจสอบไปปรับปรุงแก้ไข, มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยในสถานศึกษา, มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกให้แก่นักเรียนด้านความปลอดภัยในรูปแบบต่างๆ, มีการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองชุมชนหรือหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา (x-bar = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมา คือ มีการประชาสัมพันธ์โครงการสถานศึกษาปลอดภัยอย่างทั่วถึง มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น
ในสถานศึกษา (x-bar= 4.98, S.D. = 0.13) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด มีโครงการหรือการดำเนินการเพื่อรักษา
ความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานศึกษาที่ชัดเจน (x-bar = 4.82, S.D. = 0.39) ตามลำดับ
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการตามความเห็นของนักเรียน พบว่าผลการประเมินโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.94, S.D. = 0.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มีการดูแลสำรวจหรือตรวจสอบ
ความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยกำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจนและนำผลการตรวจสอบไปปรับปรุงแก้ไข,
มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยในสถานศึกษา, มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกให้แก่นักเรียนด้านความปลอดภัยในรูปแบบต่างๆ, มีการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองชุมชนหรือหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา (x-bar= 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมา คือ มีการประชาสัมพันธ์โครงการสถานศึกษาปลอดภัยอย่างทั่วถึง (x-bar= 4.99, S.D. = 0.11) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด มีโครงการหรือ
การดำเนินการเพื่อรักษาความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานศึกษาที่ชัดเจน (x-bar= 4.81, S.D. = 0.39) ตามลำดับ
จากผลการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนถาวรานุxxxล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมพบว่า ประเด็นส่วนใหญ่การประเมิน
อยู่ในระดับ มากที่สุด ทำให้ผลการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนถาวรานุxxxล ผ่านเกณฑ์
การประเมินในระดับมากที่สุด