รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
ผู้รายงาน นางสาวขนิษฐา กำเนิดทอง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อม ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการด้านการบริหารโครงการและด้านการดำเนินกิจกรรม และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ ในด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และเปรียบเทียบพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนก่อนและหลังการดำเนินโครงการ โดยใช้การประเมินตามรูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 405 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 18 คน ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความต้องการเร่งด่วนในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ด้านการบริหารโครงการ จำนวน 20 ข้อ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามประเมินกระบวนการด้านการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 6 แบบสอบถามประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 12 ข้อ และ ฉบับที่ 7 แบบสอบถามประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ t–test แบบ Dependent Sample test
ผลการประเมินโครงการ ปรากฏดังนี้
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.15) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน ( = 4.94, S.D. = 0.24) รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมเน้นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม แก่นักเรียน ( = 4.88, S.D. = 0.33) และกิจกรรมตามโครงการมีความชัดเจน ปฏิบัติได้จริง ( = 4.85, S.D. = 0.36) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.20) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ครู บุคลากร และนักเรียน มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ ( = 4.87, S.D. = 0.34) รองลงมา ได้แก่ มีระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการดำเนินการและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ( = 4.82, S.D. = 0.39) และผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ ( = 4.78, S.D. = 0.42) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564
3.1 ด้านการบริหารโครงการ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.13) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด คือ กิจกรรมแบ่งเขตรับผิดชอบเวรประจำวัน สามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนได้ ( = 4.89, S.D. = 0.32) รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติและทำกิจกรรมประจำวัน สามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนได้ ( = 4.78, S.D. = 0.42) และกิจกรรมประชุม และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ปกครองและครูประจำชั้นสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนได้ ( = 4.80, S.D. = 0.40) ตามลำดับ
3.2 ด้านการดำเนินกิจกรรม เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.25) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด คือ นักเรียนได้รับการฝึกกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมอย่างสม่ำเสมอ ( = 4.83, S.D. = 0.38) รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ครูจัดมีประโยชน์ ( = 4.80, S.D. = 0.40) และนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านการสอนคุณธรรมจริยธรรม ( = 4.79, S.D. = 0.41) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564
4.1 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.25) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนมีความพึงพอใจและอยากให้มีกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ( = 4.82, S.D. = 0.40) รองลงมา ได้แก่ นักเรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติและทำกิจกรรมประจำวัน ( = 4.79, S.D. = 0.41) และนักเรียนเห็นคุณค่าและตระหนักในความสำคัญของการเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม ( = 4.76, S.D. = 0.43) ตามลำดับ
4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม ก่อนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 2.88, S.D. = 0.16) ส่วนหลังการดำเนินกิจกรรมตามโครงการนักเรียนมีพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.11) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนหลังดำเนินกิจกรรมตามโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01