Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model
ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ชื่อผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ชื่อผลงาน Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model
ชื่อเจ้าของผลลงาน นางศรัญญา สตานิคม ชุมชนศิลาเพชร
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๓
โทรศัพท์ -
โทรศัพท์มือถือ 091-867-7962
ประเภทผลงงาน
□ ผู้บริหารสถานศึกษา
☑ ครู
□ นักเรียน
□ บุคลาการทางการศึกษา/ ผู้รับผิดชอบโครงการ
สอดคล้องกับคุณลักษณะโรงเรียนสุจริต
☑ ทักษะกระบวนการคิด
☑ มีวินัย
☑ ซื่อสัตย์สุจริต
□ อยู่อย่างพอเพียง
□ มีจิตสาธารณะ
ชื่อผลงาน Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model
ผู้รับผิดชอบ นางศรัญญา สตานิคม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนบ้านไพศาล(ลี้ลอยอุทิศ)
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๓
๑. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่ง
เป็นกำลังของชาติ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่ง พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในด้านความสามารถในการสื่อสารความสามารถในการคิด ความสามารถ ในการแก้ปัญหาความสามารถในการใช้ทักษะความคิดและความสามารถในการใช้ เทคโนโลยี (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๒)
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์
คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือ ในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ การดำรงชีวิตและทำให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ.
2551 : 1)
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้แนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของกลุ่มวิชา
คณิตศาสตร์ว่าผู้สอนควรคำนึงถึงความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน และความแตกต่างของผู้เรียน การจัดสาระการเรียนรู้จึงควรจัดให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ รูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สามารถกระทำได้โดยการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน เป็นกลุ่มย่อย หรือเรียนเป็นรายบุคคล สถานที่เรียนควรมีทั้งในและนอกห้องเรียนมีการจัดให้ผู้เรียนได้ไปศึกษาในแหล่งวิทยาการต่างที่อยู่ในชุมชน หรือในท้องถิ่น ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ลงมือปฏิบัติจริง ผู้สอนจึงควรฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น รู้จักบูรณาการความรู้ต่างๆเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ (กรมวิชาการ. 2551 : 184-185)
ปัจจุบันข้าพเจ้าสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-๖ ได้สังเกตพฤติกรรม
การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ทำให้ทราบว่านักเรียนไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ คิดว่าเป็น วิชาที่ยาก และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ครูผู้สอนจึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนชอบเรียน คณิตศาสตร์ และสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ จึงได้คิดสร้างBest Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Modelขึ้น เพื่อควบคู่ไปกับการสอน เพราะเกมอาจทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน อีกทั้งยังส่งผลให้นักเรียนมี ความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นBest Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Modelนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ อย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งได้รับความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ อีกทั้งสอดแทรกความรู้เรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต นักเรียนทุกคนในชั้นเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ สนุกคิด ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ มีความสุขในการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจได้เป็นอย่างดี ทุกคนต้องเคารพกติกาใน การเล่นเกม ซึ่งข้าพเจ้าได้สร้างเกมเพื่อบูรณาการกับความสุจริต ทั้ง ๕ คุณลักษณะเพื่อเป็นนวัตกรรม ประกอบการเรียนการสอน ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ให้กับนักเรียน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ความพอเพียง และมีจิตสารธารณะ อีกทั้งยังเกิดความสามัคคี มีวินัยในการเล่นเกมในกลุ่ม และยังได้ ความสนุกสนาน ฝึกทักษะด้านกระบวนการคิด ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ความพอเพียง และมีจิตสารธารณะ ทั้ง ๕ ด้าน ให้ดีขึ้นเราจะร่วมมือกันป้องกันและต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ จะปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตระหว่างโรงเรียนและชุมชนให้เป็น รูปธรรมและมีความยั่งยืนและเราจะสร้างเครือข่ายความซื่อสัตย์สุจริตระหว่างโรงเรียน และชุมชนให้เป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน
จากปัญหาดังกล่าว ครูผู้สอนต้องการให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีความรู้
ทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์ที่ยั่งยืน ควบคู่กับมีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต จึงคิดสร้าง “Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model” มาเป็นนวัตกรรมประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดี ต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ และสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับ นักเรียน โดยกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 15 คน สาระการเรียนรู้เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น.
๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงาน
๒.๑ จุดประสงค์
๑) เพื่อให้นักเรียนมีวินัยในขั้นตอน Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model
๒) เพื่อให้นักเรียนรู้กติกาปฏิบัติตามกติกาในการเล่นเกมและมีความซื่อสัตย์ในการเล่นเกม
๓) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียนและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
๔) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ให้สูงขึ้น
๕) เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและโรงเรียนต้นแบบสุจริตและสามารถเผยแพร่ต่อสาธารณชนในช่องทางต่างๆ
๒.๒ เป้าหมาย
๒.๒.๑ เชิงปริมาณ
๑) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ร้อยละ ๘๐ มีวินัยและความซื่อสัตย์ใน
การเล่นเกม สามารถปฏิบัติตามกติกาในการเล่นเกมได้
๒) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ร้อยละ ๘๐ มีทักษะกระบวนการคิดและ
มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
๓) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ร้อยละ ๘๐ มีผลสัมฤทธิ์ในรายวิชา
คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น.
๒.๒.๒ เชิงคุณภาพ
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 มีพัฒนาการด้านกระบวนการคิด ความมี
ระเบียบ วินัย ความซื่อสัตย์ ความพอเพียง และมีจิตสารธารณะ ทั้ง ๕ ด้าน ดีขึ้น
๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน
การจัดกิจกรรมBest Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA
กระบวนการ PLC และการ จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการการจัดการเรียนการสอนแบบ ๕Es มีรายละเอียดดังรูป
กระบวนการดำเนินงาน
โรงเรียนบ้านไพศาล(ลี้ลอยอุทิศ) นำเสนอกระบวนการ/วิธีการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ รวมทั้งมีการประเมินผลการเรียนรู้ และนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลมาใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และมีการบริหารจัดการโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง รูปแบบ active learning ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่ต่อการเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยนำนโยบาย No Child Left Behind “ไม่มีเด็กคนใดถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง” (NCLB) มาสร้างความตระหนักแก่ครูผู้สอนโดยเน้นในเรื่องการมอบหมายงานและให้การบ้านนักเรียน การสอนซ่อมเสริม การบริหารจัดการชั้นเรียน และแหล่งเรียนรู้และการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา สอดคล้องกับความสนใจและความแตกต่างของนักเรียนโดยจัดกิจกรรมบูรณาการ ๘ กลุ่มสาระ เช่น การทำยาหม่องจากไพลสด การทำขนมแพนเค้ก การทำเหรียญโปรยทาน การเข้าห้องเรียนเสมือน บทเรียนออนไลน์ การสืบค้นข้อมูล ICT ผู้บริหารและคณะครูมีการประชุมจัดทำแบบบันทึกข้อตกลงในการปฏิบัติงานในหน้าที่เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระหว่างผู้อำนวยการโรงเรียนกับครูและบุคลากรทางการศึกษา (MOU) เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาผู้เรียนมีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน คณะครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิด และจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายของ สพฐ.ต่อไป
โรงเรียนมีเป้าหมายที่จะดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนในการสอนซ่อมเสริมสำหรับเด็กที่ขาดเรียนบ่อยเรียนไม่ทันเพื่อน ด้วยความร่วมมือของคณะครูและบุคลากรในโรงเรียนบ้านไพศาล(ลี้ลอยอุทิศ)ทุกท่าน ซึ่งมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญ ในการดำเนินการ ติดตาม กำกับดูแลให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียน มีกระบวนการทำงานเชิงระบบโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นดำเนินการตามแผน (Do) ขั้นการตรวจสอบ (Check) และขั้นการรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)และบริหารงานโดยใช้รูปแบบ P.S CAO MODEL ดังนี้
๑. การบริหารงานโดยใช้รูปแบบ “Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model” โดยใช้เป็นหลักใน
การบริหารจัดการระบบคุณภาพ ดังนี้
P – Participation : ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข
S - Sufficiency : พัฒนาสถานศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
C - Creative and Cooperative : การสร้างสรรค์คุณภาพผู้เรียน คุณภาพงาน คุณภาพครู และคุณภาพสถานศึกษา ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ผ่านการประสานความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบ Coaching and Mentoring ผ่านกระบวนการ PDCA
A - Activities and Abilities การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นกิจกรรมที่หลากหลาย และพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนอย่างรอบด้าน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
O - Organization คือ การดำเนินการให้องค์กรหรือโรงเรียนของเราเป็นองค์กรหรือโรงเรียนแห่งการเรียนรู้
๒. ประชุม รับนโยบายจากท่านผู้อำนวยการโรงเรียน เรื่องการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามนโยบายของท่านผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๓ และนโยบายของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓. ท่านผู้อำนวยการโรงเรียน ทำบันทึกข้อตกลง Memorandum of Understanding ( MOU ) กับครูและบุคลากรทุกคน
๔. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบและดำเนินการติดตาม ขณะนักเรียนอยู่ที่บ้าน
๕. ครูที่ปรึกษาตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนตกต่ำ
๖. ครูที่ปรึกษาติดตามให้นักเรียนดำเนินการสอนซ่อมเสริมในแต่ละรายวิชา
๗. สรุปรายงานผลเสนอผู้บริหารทราบ
๔. ผลการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลการดำเนินงาน
4.1.1 พัฒนาครูสู่การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
4.1.2 ส่งเสริมให้ครูออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ผ่าน Application ต่างๆ เช่น Google Meet และ Line Meeting จัดให้ครูทำใบงานในการสอนแบบ On hand และในรูปแบบการเรียน On demand ส่งเสริม ให้ครูจัดทำ VDO การสอนทั้งขณะสอนออนไลน์ และคลิปการสอนในเรื่องที่สอน
4.1.3 ส่งเสริมให้ครูนำ Google form นำมาใช้ในการลงชื่อเข้าเรียน ส่งงาน และทำแบบทดสอบย่อย เพื่อช่วย ให้ครูผู้สอนสามารถสร้างและเก็บชิ้นงานโดยไม่ต้องใช้กระดาษ มีความสามารถในการเข้าห้องเรียนเสมือน Google classroom ให้กับนักเรียนแต่ละคน อีกทั้งมีการสร้างโฟลเดอร์สำหรับนักเรียนแต่ละคนเพื่อความเป็นระเบียบของข้อมูล นักเรียน สามารถติดตามงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายว่ามีอะไรครูบกำหนดบ้าง ครูผู้สอนสามารถติดตามการทำงานของ นักเรียนได้ และให้คะแนนกับงานที่นักเรียนส่งมาได้อย่างรวดเร็ว
4.1.4 ส่งเสริมให้ครูมีการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์
จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ เทียบกับปีการศึกษา ๒๕๖๔ พบว่าปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีคะแนนเฉลี่ย ๓๒.๖๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ มีคะแนนเฉลี่ย ๓๓.๒๔ คะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย +๐.๖๑ ทำให้ผู้ปกครองและนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET ) โดยการจัดติวเติมเต็มความรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ ซึ่งครูที่รับผิดชอบสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เข้าติวเติมเต็มความรู้ตามชั่วโมงที่ทางฝ่ายบริหารงานวิชาการได้จัด ครูมีการเตรียม ข้อสอบและเนื้อหาในการติวเอง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น จากผลการดำเนินการได้รับความร่วมมือจากคณะครูเป็นอย่างดี
วิธีการแก้ไขปัญหาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ ทางผู้อำนวยการโรงเรียน ได้มีนโยบายเรื่องการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ ดำเนินการประชุมครูและบุคลากรโดยใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษาเยี่ยมบ้านนักเรียน ๑๐๐% เป็นความร่วมมือระหว่างครูที่ปรึกษากับผู้ปกครองในการดูแลเกี่ยวกับการมาเรียนของนักเรียน ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๕ นักเรียนทุกคนต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ประกอบกับ ทางฝ่ายบริหารวิชาการได้จัดการประชุมครูและบุคลากรปรึกษาหารือในการยกผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) โดยการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในระดับโรงเรียน โดยให้ครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้จัดส่งแผนการจัดการเรียนการสอนให้กับ ทางฝ่ายบริหารงานวิชาการ และมีการติดตามนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนตามแบบประเมิน วางแผนการจัดการติวเติมเต็มความรู้และหาข้อสอบ O-Net ให้กับครูเพื่อนำมาทดสอบและใช้ติวให้กับนักเรียน ใช้ข้อสอบกลางจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม
เขต ๓ ในการออกข้อสอบแต่ละครั้ง เพื่อนำคะแนน ๒๐% มาใช้ในการตัดสินผลการเรียนในระดับสถานศึกษา รณรงค์อย่างต่อเนื่องทั้งภายในห้องเรียน และนอกห้องเรียนให้นักเรียนได้เห็นความสำคัญและตระหนักในการสอบ O-Net นอกจากนี้ทางฝ่ายบริหารงานวิชาการ ยังจัดให้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ออกข้อสอบกลางภาคและปลายภาคให้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๑
ข้าพเจ้าอุทิศตน เสียสละ อดทน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี
คนเก่ง และมีความสุขในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ พัฒนานวัตกรรมและแนวทางในการจัดการเรียนรู้ คิดค้นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จนเกิดผลดีกับการพัฒนานักเรียน จนได้รับรางวัล สามารถเผยแพร่งานให้ครูในเขตพื้นที่การศึกษาและใน LINE Facebook youtube ข่าวประชาสัมพันธ์โรงเรียน เป็นต้น ข้าพเจ้ามีหลักในการปฏิบัติตนดังนี้ ตั้งใจศึกษากระบวนการ วิธีการสอนที่หลากหลาย ให้เหมาะสมกับบริบทของนักเรียน มีความเสียสละ อดทน ต่อการทำงาน รับผิดชอบในการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เมื่อเกิดปัญหาในการจัดกระบวนการเรียนการสอน นำปัญหามาแก้ไขอย่างเป็นระบบผ่านกระบวนการ PLC รู้จักการทำงานแบบธรรมาภิบาล มีส่วนร่วมกับทุกฝ่ายในโรงเรียน ข้าพเจ้ามีหลักในการครองคน ดังนี้ รู้จักคนอื่น และมองคนอื่นในแง่ดี ในการทำงานร่วมกับคนอื่นรู้จักเสียสละแบ่งปันด้วยจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่พูดจาที่สุภาพ รู้จักเลือกใช้วาจาที่ไพเราะอ่อนหวานบำเพ็ญประโยชน์ต่อกันและกัน รู้จักแบ่งน้ำใจให้แก่มวลมิตรเป็นคนวางตนเสมอต้นเสมอปลาย รักและศรัทธาในงานที่ทำ มีความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน เอาใจใส่ต่องานที่ทำ ได้รับความเชื่อถือในผลของการกระทำที่เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในด้านการจัดการเรียนรู้ ความประพฤติ และการพัฒนางานด้านการจัดการเรียนรู้ โดยความรู้ความสามารถพิเศษเฉพาะที่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน มีดังนี้
๑) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญบูรณาการการ
เรียนรู้ให้สอดคล้องและเท่าทันยุคสมัย มีกระบวนการ หรือกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสุข ความสนุกสนานในการเรียนรู้ โดยออกแบบ“การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) โดยใช้รูปแบบ P.S CAO Model
๒) ความสามารถในการใช้และการผลิตสื่อและความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถผลิต
สื่อการสอนที่มีคุณภาพ เช่น ชุดกิจกรรม แบบฝึกทักษะ สื่อการเรียนรู้ โดยนำเครื่องมือ ICT ที่ได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและฝึกอบรมจากหน่วยพัฒนาต่างๆ มาผลิตสื่อการเรียนการสอน นอกจากนี้ได้จัดทำห้องเรียนเสมือนโดยใช้ google classroom เพื่อบริหารจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนและสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
4.2 ผลสัมฤทธิ์
มีการจัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบ คือ On–Demand , Online และ On –Hand มาจัดการเรียนการ สอนผ่าน Application ต่าง ๆ เช่น Google Meet และ Line, Meeting Zoom ซึ่งแต่ละโปรแกรมมีข้อดีข้อเสียแตกต่าง กันไปอยู่ที่ผู้ใช้จะนำไปประยุกต์ใช้โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไป
โปรแกรม ข้อดี ข้อจำกัด
Google Meet - เหมาะกับการประชุม
- สามารถวิดีโอคอลได้
-บันทึกวิดีโอได้ -มีแบรนวิดช์น้อย
-มีเมนูให้เลือกน้อย
Line Meeting -มี Line Chat ที่ช่วย เพิ่มการ สื่อสาร
-สามารถแชร์ไฟล์ในกลุ่มได้มากกว่า 1 GB ต่อวัน -มีประกาศ
-มีNote และ Keep ในการเก็บ ข้อมูลได้ทั้งอัลบั้ม รูปภาพ วิดีโอ ลิงก์ ไฟล์
-หลุดบ่อย
เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ปีการศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
ปีการศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เฉลี่ยรวม
๒๕๖๓ ๔๕.๗๕ ๓๑.๖๗ ๒๓.๓๓ ๒๙.๗๕ ๓๒.๖๓
๒๕๖๔ ๔๑.๒๙ ๒๒.๓๒ ๓๖.๘๔ ๓๒.๕๐ ๓๓.๒๔
ผลการพัฒนา -๔.๔๖ -๙.๓๕ +๑๓.๕๑ +๒.๗๕ +๐.๖๑
จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ เทียบกับปีการศึกษา ๒๕๖๔ พบว่าปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีคะแนนเฉลี่ย ๓๒.๖๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ มีคะแนนเฉลี่ย ๓๓.๒๔ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น +๐.๖๑ เมื่อแยกคะแนนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนลดลงได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ลดลง -๔.๔๖ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ลดลง -๙.๓๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลคะแนนสูงขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๓ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น +๑๓.๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้น +๒.๗๕ ดังตารางแสดง และเมื่อจัดอันดับโดยเรียงคะแนน O-Net เฉลี่ย ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้จากมากไปหาน้อย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๓ ทั้งหมด ๑๔๗ โรงเรียน พบว่า โรงเรียนบ้านไพศาล(ลี้ลอยอุทิศ) อยู่ในระดับที่ ๑๒๒
เลขที่
ชื่อ - สกุล คะแนนแบบทดสอบ หมายเหตุ
ก่อนเรียน
(20 คะแนน) หลังเรียน
(20 คะแนน)
1 ด.ช. ณัฐสิทธิ์ หาบุตร 6 10
2 ด.ช. อัครวินท์ แปลกมาก 6 11
3 ด.ช. อารักษ์ รัทนี 8 12
4 ด.ญ. ธนพร ถิตย์บุญครอง 8 12
5 ด.ญ. ธัญญารัตน์ ไชยชิน 10 15
6 ด.ญ. ยิ่งลักษณ์ โทฮาด 11 15
7 ด.ญ. รุจิรัตน์ กอบขุนทด 16 18
8 ด.ญ. อรปรียา หนูจิตร 17 19
9 ด.ญ.ปภัสรา สังหมื่นเม้า 6 9
10 ด.ช.ธิติวุฒิ ประจง 6 9
11 ด.ช. จิรายุ ขาวภา 10 16
12 ด.ช. ธนวัฒน์ ชินดร 5 8
13 ด.ช. เสกฎา ไสยมะนน 17 19
14 ด.ช. อโณทัย รัทนี 16 16
15 ด.ช.พรพิพัฒน์ นิลสมบูรณ์ 15 17
ค่าเฉลี่ย 10.46 13.73
เมื่อใช้“Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model”เป็นนวัตกรรมประกอบการจัดการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. และได้นำ Google form นำมาใช้ในการลงชื่อเข้าเรียน ส่งงาน และทำแบบทดสอบย่อย เพื่อช่วยให้ครูผู้สอน สามารถสร้างและเก็บชิ้นงานโดยไม่ต้องใช้กระดาษ มีความสามารถในการทำสำเนาของ Google ให้กับนักเรียนแต่ ละคน อีกทั้งมีการสร้างโฟลเดอร์สำหรับนักเรียนแต่ละคนเพื่อความเป็นระเบียบของข้อมูล นักเรียนสามารถติดตาม งานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายว่ามีอะไรครูบกำหนดบ้าง ครูผู้สอนสามารถติดตามการทำงานของนักเรียนได้ และให้ คะแนนกับงานที่นักเรียนส่งมาได้อย่างรวดเร็ว
ตาราง สรุปผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน สาระการเรียนรู้เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น.
ระดับ คะแนนแบบทดสอบ
ค่าเฉลี่ยก่อนเรียน ค่าเฉลี่ยหลังเรียน ผลต่าง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 10.46 13.73 +3.27
จากตารางแสดงผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เมื่อใช้เ เมื่อใช้“Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model”เป็นนวัตกรรมประกอบการจัดการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้เรื่อง ห.ร.ม. และ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ 10.46คะแนน และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียน ค่าเท่ากับ 13.73 คะแนน และมีผลต่างของคะแนนสอบที่เพิ่มขึ้น 3.27 คะแนน
๔.๓ ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ นักเรียนมีวินัยในการเล่นBest Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model
๔.๒ นักเรียนรู้กติกา ปฏิบัติตามกติกาในการเล่นเกมและมีความซื่อสัตย์ในการเล่นเกม
๔.๓ นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
๔.๔ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้เรื่อง การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต ที่สูงขึ้น
๔.๔ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและโรงเรียนต้นแบบสุจริต
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
๕.๑ ผู้อำนวยการโรงเรียนให้ความสำคัญ ส่งเสริมให้กำลังใจ และให้การสนับสนุนการพัฒนา ระบบงาน
๕.๒ ครูมีส่วนร่วม มุ่งมั่นตั้งใจจริงและทุ่มเท ทั้งแรงกายแรงใจเพื่อพัฒนานักเรียน เป็นแบบอย่างที่ ดีให้กับนักเรียน เอาใจใส่และให้คำแนะนำที่ดีแก่นักเรียน
๕.๓ นักเรียนให้ความร่วมมือ และมีความพร้อมในร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
๕.๓ ความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
๕.๔ ผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมและความตั้งใจที่นำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนา ปรับปรุง ระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง
๖. บทเรียนที่ได้รับ
๖.๑ การใช้Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Modelเป็นนวัตกรรมประกอบการจัดการเรียนการสอน ทำให้นักเรียน เกิดความสนุกสนาน อีกทั้งยังส่งผลให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น
๖.๒ การใช้Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Modelเป็นนวัตกรรมประกอบการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงแต่ใช้ ได้ผลในวิชาคณิตศาสตร์เท่านั้น สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด และนำไปใช้ประกอบการสอนได้ใน ทุก ๆ วิชา
๗. การเผยแพร่ผลงาน เผยแพร่ผลงานผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียนบ้านไพศาล(ลี้ลอยอุทิศ)
จากผลการพัฒนาตนเองทำให้ข้าพเจ้าเกิดองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ สามารถออกแบบการ
พัฒนาผู้เรียนอย่างมีระบบและขั้นตอนตามหลักวิชาการ มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการเรียนรู้ การใช้สื่อ/นวัตกรรม ตลอดจนการวัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพตามสภาพจริงและจัดทำวิจัยชั้นเรียนซึ่งได้เผยแพร่ ดังนี้
๑) เผยแพร่เป็นเอกสารให้กับครูในโรงเรียน โรงเรียนในศูนย์เครือข่าย และโรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๓
๒) เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ https://baifernsata.wixsite.com/my-site
๓) เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ Facebook
๔) นำเสนอผลงานในการประชุมกลุ่มวิชาการกับการทำงานของครู และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) https://baifernsata.wixsite.com/my-site / และFan page “ครูใบเฟิร์นประถม”
๘. เงื่อนไขความสำเร็จ
๘.๑ มีความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายภาพ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น
๘.๒ นักเรียนปฏิบัติตามกติกาในการเล่นเกมและมีความซื่อสัตย์ในการเล่นเกม
๘.๓ นักเรียนมีความพร้อมในร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
๙. Best Practice สอดคล้องกับคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต
คุณลักษณะ กิจกรรมที่สอดคล้อง เครื่องมือที่ใช้
๑. ทักษะกระบวนการคิด ๑.๑ การคิดแก้ปัญหาเพื่อหาคำตอบ
ในBest Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model
๑.๒ การคิดเชื่อมโยงความรคณิตศาสตร์ เพื่อหาคำตอบในBest Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model - Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model
๒. มีวินัย ๒.๑ มีวินัยในการเล่นเกม
๒.๒ ปฏิบัติตามกติกาการเล่นเกม
๒.๓ การตรงต่อเวลา ความละเอียด รอบคอบในการคิด - แบบสังเกตพฤติกรรม
๓. ซื่อสัตย์สุจริต ๓.๑ นักเรียนเล่นBest Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model
อย่างมีความซื่อสัตย์
๓.๒ มีการยอมรับผลการตัดสินจาก การเล่นเกมอย่างซื่อสัตย์
๓.๓ แสดงความคิดเห็นต่อการแสดง คำตอบของเพื่อนอย่างมีเหตุผล - แบบสังเกตพฤติกรรม
๑๐. กิจกรรมที่สอดคล้องกับปฏิญญาโรงเรียนสุจริต ได้แก่
ปฏิญญา กิจกรรมที่สอดคล้อง วิธีการ
๑. การปลูกฝัง - Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model สร้างทักษะกระบวนการคิดด้วย
การให้นักเรียนคิดแก้ปัญหา และการคิดเชื่อมโยงความรู้
คณิตศาสตร์เพื่อหาคำตอบใน- Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model
๒. การป้องกัน - Best Practice สุจริตด้วยใจ P.S CAO Model ให้คำแนะนำในเรื่องการปฏิบัติ
ตามกติกาการเล่นเกม และยอมรับ ผลการตัดสินจากการเล่นเกมด้วย ความซื่อสัตย์
๓. การสร้างเครือข่าย การเผยแพร่ผลงาน เผยแพร่ผลงานของตนเองผ่าน
เพื่อนร่วมงาน ผ่านทาง Facebook
หรือ ผ่านทางกลุ่ม Line ผู้ปกครอง
๒) เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์
https://baifernsata.wixsite.com/my-site / และFan page “ครูใบเฟิร์นประถม”
ปีการศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เฉลี่ย
รวม
๒๕๖๓ ๔๕.๗๕ ๓๑.๖๗ ๒๓.๓๓ ๒๙.๗๕ ๓๒.๖๓
๒๕๖๔ ๔๑.๒๙ ๒๒.๓๒ ๓๖.๘๔ ๓๒.๕๐ ๓๓.๒๔
ผลการ
พัฒนา -๔.๔๖ -๙.๓๕ +๑๓.๕๑ +๒.๗๕ +๐.๖๑
แหล่งเผยแพร่ความรู้ผ่านเว็บไซต์ https://baifernsata.wixsite.com/my-site / และFan page “ครูใบเฟิร์นประถม” LINE Facebook youtube