โครงงานประวัติศาสตร์ เรื่องเล่าจากปราชญ์ "ข้าวสากในเชิงพุทธ
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ในสมัยพุทธกาลมีบุตรชายกุฎุมพี(คนมั่งมี)คนหนึ่งเมื่อบิดาสิ้นชีวิต มารดาจึงหาหญิงที่มีอายุและตระxxxลเสมอกันมาเป็นภรรยา อยู่ด้วยกันหลายปีแต่ไม่มีบุตรมารดาจึงได้หาหญิงมาให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาภรรยาน้อยมีลูกภรรยาหลวงจึงอิจฉาจึงหาทางกำจัดทั้งลูกและภรรยาน้อย ส่วนภรรยาน้อยก่อนตายก็คิดอาฆาตภรรยาหลวงไว้ ชาติต่อมาภรรยาน้อยเกิดเป็นแมวส่วนภรรยาหลวงเกิดเป็นไก่ แมวจึงกินไก่และไข่ ชาติต่อมาฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นเสือ อีกฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นแม่โค เสือไปกินแม่โคและลูกโค พอชาติสุดท้าย ฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นคน อีกฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี ยักษิณีได้มากินลูกของคนถึงสองครั้งพอลูกคนที่สามเกิดยักษิณีจะตามมากินอีก หญิงที่เป็นคนพร้อมสามีและลูก จึงหนีไปหาพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ที่ เชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าจึงได้เทศนาให้ทั้งสองเลิกจองเวรกัน และโปรดให้ยักษิณีไปอยู่ตามปลายนา ยักษิณีมีความรู้เกี่ยวกับฝนและน้ำเป็นอย่างดี ชาวบ้านจึงนับถือกันมาก และได้น้ำข้าวปลาอาหารไปส่งอย่างบริบูรณ์ นางยักษิณีก็นำอาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ ชาวอีสานถือเป็นประเพณีถวายสลากภัต หรือบุญข้าวสาก ซึ่งทำกันในเดือนสิบ และมีการเปลี่ยนจากเรียกนางยักษิณีว่า “ตาแฮก”ที่มาเดือนสิบบุญข้าวสาก (อีสานร้อยแปด ดอทคอม, 2562)
สวิง บุญเจิม ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุญข้าวสากว่า ฮีตที่ 10 บุญข้าวสาก(ข้าวสราท) เป็นบุญถวายข้าวสลากแด่พระสงฆ์ นิยมทำกันเป็นประเพณีในวันเพ็ญเดือนสิบโดยมีวิธีทำ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ทำอาหารหวานคาวใส่ถาดไปทำบุญที่ศาลาการเปรียญ(หอแจก) แล้วเขียน ชื่อลงในบาตรให้พระสงฆ์สามเณรจับฉลากเมื่อจับได้รายชื่อใครคนนั้นก็ไปถวายพระสงฆ์สามเณรรูปนั้น ส่วนที่ 2 จัดข้าวผสมอาหารใส่ใบตองเตรียมไว้สำหรับให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับ นำไปวางไว้ข้างโบสถ์ ศาลาตามโคนไม้ในวัด แต่ไม่ไปวางนอกวัดเหมือนข้าวประดับดิน ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีการเทศน์นิทานในวรรณกรรมอีสาน เช่น ท้าวกาฬเกษ ท้าวก่ำกาดำ ท้าวนกกระจอกน้อย เป็นต้น (สวิง บุญเจิม, 2536)
บุญข้าวสากเป็นบุญประเพณีที่เชื่อมโยงระหว่างคนเป็นกับคนตาย โดยลูกหลานที่มีชีวิตอยู่ใน
ปัจจุบันประกอบพิธีกรรมต่อบรรพบุรุษของตนที่ละโลกนี้ไปแล้ว โดยมีวัดและพระสงฆ์เป็นสื่อกลาง ประเพณีบุญข้าวสากของหมู่บ้านนาเชือก ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม มีส่วนที่คล้ายคลึงกับประเพณีของชาวอีสานเหนือทั่วไปดังที่กล่าวมา แต่ที่แปลกแตกต่างไปบ้างก็คือเน้นความสมัครสมานสามัคคีในบรรดาเครือญาติเป็นพิเศษ ดังจะเห็นว่าในช่วงของการเตรียมก่อนถึงวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวปลาอาหารชนิดต่างๆ สำหรับทำบุญ และทำเผื่อแผ่ไปยังญาติพี่น้องและผู้รักใคร่นับถือบ้านใกล้เรือนเคียงนับเป็นการสร้างความสนิทสนมกลมเกลียวของบรรดาญาติมิตร นอกเหนือจากการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมานานในฮีตสิบสองคองสิบสี่ ดังกล่าวในบุญประเพณีดีงามดังกล่าวนี้ มีรายละเอียดบางประการที่ควรได้รับการแก้ไขให้เป็นแบบอย่างที่ถูก คือ การใช้ภาษาบาลีมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่ถือสืบๆ กันมาตามรูปแบบมุขปาฐะ ซึ่งบางทีก็ผิดเพี้ยนไปจากหลักภาษาที่ถูกต้อง
ด้วยเหตุผลและจุดเริ่มต้นของการเกิดบุญประเพณีนี้ เราจึงเล็งเห็นความสำคัญของ
ประเพณีบุญข้าวสาก ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเพณีบุญข้าวสากของชาวอีสานเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ความสำคัญหรือเกร็ดความรู้ในบุญประเพณีนี้ก็เริ่มสูญหายไป ซึ่งหากประเพณีบุญข้าวสากไม่มีการสืบต่อหรือไม่มีการอนุรักษ์ไว้ในอนาคตเด็กรุ่นใหม่อาจไม่รู้จักประเพณีบุญข้าวสากอันดีงามของชาวอีสานการรักษาวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นคนรุ่นใหม่เกิดความเข้าใจต่อวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมตามประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่และการสืบทอดอัตลักษณ์ของคนอีสาน เพื่อไม่ให้วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามเลือนหายไปตามกาลเวลารวมทั้งสร้างแรงจูงใจที่น่าสนใจให้กับผู้ที่สนใจ จึงได้หยิบยกประเด็นปัญหาหรือสาระสำคัญรวมไปถึงความเป็นมาและหลักการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีบุญข้าวสาก ของคนอีสานมาวิเคราะห์ในเชิงพุทธจริยศาสตร์เพื่อเกิดเป็นองค์ความรู้ ตลอดจนศึกษาการปฏิบัติตนตามหลักธรรมที่ปรากฏในประเพณีบุญข้าวสาก ซึ่งชุมชนได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันว่าให้ผลดีในด้านใดบ้าง ทั้งต่อตนเองและต่อส่วนรวม คือ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมสืบต่อไป (ปรีชา พิณทอง, 2528) เพื่อให้ชุมชนเกิดมีจิตวิญญาณ หมายถึง การมีกิจกรรมร่วมกันและสามารถดึงจิตสำนึกของคนในชุมชนนั้น ๆ ให้มีความผูกพันจนสามารถที่จะพัฒนาจิตใจได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ดังนั้น
เราจึงมีความสนใจที่จะศึกษา เรื่อง ประเพณีบุญข้าวสากของชุมชน มุ่งเน้นศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์หาเหตุผล และใช้โครงสร้างทางพุทธจริยศาสตร์มาค้นคว้าตามกรอบประเพณีบุญข้าวสาก เพื่อนำข้อค้นพบจากการศึกษาไปกำหนดยุทธศาสตร์และโครงการเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์หลักการวิธีการปฏิบัติตามประเพณีบุญข้าวสากเพื่อเกิดความยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์
สมมติฐาน
ประเพณีบุญข้าวสากของชุมชนชาวอีสานในเชิงพุทธจริยศาสตร์ แตกต่างกัน
คำถามสำคัญ
๑. ประเพณีบุญข้าวสาก มีความเป็นมาอย่างไร
๒. ประเพณีบุญข้าวสากนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไร
๓. ทำไมต้องมีประเพณีบุญข้าวสาก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้เกิดแก่บุคคลที่กำลังเติบใหญ่
ให้ได้ซึมซับจารีตนี้เอาไว้ชั่วลูกชั่วหลาน อีกทั้งยังต้องการสร้างจริธรรมของสถาบันครอบครัว คือ การปลูกฝังความสัมพันธ์เรื่องการเคารพบรรพบุรุษของตนถือเป็นการสร้างหลักกตัญญูกตเวทีแก่บุตรหลานของตนพร้อมยังสร้างจริยธรรมของสถาบันสังคมที่กว้างออกไปได้เป็นอย่างดีเรื่องการผูกมิตรสัมพันธไมตรีต่อกันระหว่างคนในสังคม
ขอบเขตการศึกษา
วัดบ้านนาเชือก หมู่ที่ 1 ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
ระยะเวลาในการศึกษา
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565
คณะผู้จัดทำ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6
ครูที่ปรึกษา
นางศรัญญา สตานิคม
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การเตรียมงานขั้นตอนของพิธีกรรม
1. พิธีการของชาวบ้าน
ก่อนถึงกำหนดวันทำบุญข้าวสาก คือ ราววันขึ้น 13-14ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้าน จะเตรียม
อาหารชนิดต่าง ๆ มีทั้งข้าว เนื้อ ปลา ข้าวเม่า ข้าวพอง ข้าวตอก ขนม และอาหารคาวหวานอื่น ตลอดจนผลไม้ต่าง ๆ ไว้สำหรับทำบุญ สำหรับข้าวเม่า ข้าพอง และข้าวตอกนั้น จะคลุกเข้ากันโดยใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าว ให้เป็นข้าวสาก (ข้าวกระยาสารท) แต่บางท้องถิ่นไม่นำข้าวเม่า ข้าวพอง และข้าวตอก มาคลุกเข้าด้วยกัน คงแยกไปทำบุญเป็นอย่าง ๆ เมื่อเตรียมสิ่งของทำบุญเรียบร้อย แล้ว ชาวบ้านจะเอาข้าวปลาอาหารที่มีอยู่ไปส่งญาติพี่น้องและผู้รักใคร่นับถือ อาจส่งก่อนวันทำบุญหรือส่งในวันทำบุญเลยก็ได้ สิ่งของเหล่านี้มักแลกเปลี่ยนกัน ไปมา ระหว่างญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรือนเคียง ถือว่าเป็นการได้บุญการทำบุญข้าวสาก ของชาวอีสานนั้น กำหนดทำกันในวันขึ้น 15ค่ำ เดือน 10 ถือกันว่าเป็นการทำบุญส่งข้าวเปรตนั่นเอง คติความเชื่อนี้เดิมเป็นของลัทธิพราหมณ์ เมื่อถึงเวลาขึ้นเดือน 10วันเพ็ญ ต่างก็ทำขนมข้าวต้มของคาวหวานไปทำทานแก่พราหมณ์แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่เปตชนที่ล่วงลับไปแล้ว ถือว่าเป็นการตอบแทนบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว และให้ตนเองมีความสุขความเจริญ เมื่อทางพุทธศาสนาเข้ามากลมกลืน จึงถือว่าการอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปตชนนั้น ต้องทำทานให้แก่พระภิกษุแล้วกรวดน้ำไปให้คติความเชื่อนี้ยังมีความเชื่อต่อไปอีกว่า วันเพ็ญเดือน 10 เป็นวันที่พวกเปรตออกเยี่ยมญาติรวมทั้งเปรตที่ไม่มีญาติก็มาด้วย จากการสังเวยเทวดามาเป็นทำบุญให้ทานผ่านพระสงฆ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งให้แก่เปรต ชาวอีสานจึงนิยมทำกันสืบต่อๆ กันมา
ก่อนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10ในระยะ 2-3วัน ต่างก็พากันจัดหาตระเตรียมข้าวของจะท าบุญข้าวสาก เป็นต้นว่า มะพร้าว ฟักเขียว ฟักทอง เผือก มัน กล้วย อ้อย น้ำตาล ปลา กบเขียด กอย(คล้ายหัวมัน) ถั่ว งา หมาก พลู บุหรี่ ครอบครัวใดมีญาติมากและอยู่ต่างบ้านต่างเมืองกันก็ถือโอกาสนำสิ่งของดัง กล่าวไปต้อน(ฝาก) กัน หรือ และเปลี่ยนกันเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ปู่ ย่า ตา ยาย ของตน เมื่อเตรียมข้าวของดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ก่อนวันงาน 1 วัน ต่างก็เริ่มข้าวสากกัน บ้างก็ตัดใบตองกล้วยเพื่อห่อข้าวต้ม ข้าวต้มนิยมกันแต่โบราณมีข้าวต้มแดก(เอาข้าวเหนียวนึ่งให้สุกคลุกเข้ากับ กล้วยสุก หรือต าใส่ครกจนเข้ากันดีแล้ว ห่อด้วยใบตองกล้วยแล้วมาต้มให้สุก) นอกจากข้าวต้มแดกแล้วมีข้าวต้มผสมด้วยกอย(หัวกอยมีลักษณะเหมือนหัวมัน) ผสมด้วยเผือก มัน ถั่ว นอกจากนั้นจะมีข้าวต้มโก้น(ข้าวต้มมัดกระบองใส่กล้วยสุกข้างใน)ข้าวต้มนี้ ถือเป็นของหวาน นอกจากนั้นจะมีขนมเทียนยัดไส้หวาน เค็ม นอกจากข้าวต้ม ก็มีผลไม้แต่ทำให้สุกคือนึ่งก่อนมี ฟักทองคลุกมะพร้าวผสมด้วยน้ำตาลหรือน้ำอ้อยก้อนส่วนของคาวนิยมใช้ปิ้งปลา กบ เขียด เนื้อวัว หมู ไก่ ตามแต่จะหาได้ แล้วมีแจ่ว(น้ำพริกสดไม่ผสมน้ำ) ปลาร้าสับหรือปลาร้าบอง นอกนั้นจะมีบุหรี่ หมากพลู อันเป็นของขบเคี้ยวพอถึงวันต่างก็จัดทำแต่เช้ามืด สิ่งที่ทำมี 2 ประเภท คือ
1)ห่อข้าวใหญ่ ซึ่งต้องเอาไปถวายพระสงฆ์ เอาใบตองกล้วยห่อข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้ว ใบห่อ
ข้าวจะห่อปิ้งปลา กบ เขียดและแจ่วมีขนาดกินอิ่ม 1 คน
2)ห่อข้าวน้อย ซึ่งจะนำไปส่งเปรต หรือผีปู่ย่า ตายาย การห่อแบ่งเป็น 2 ตอนตอนหนึ่งใส่
ของคาวรวมกับข้าว มีปิ้งปลา โดยมากเป็นอาหารแห้ง แจ่วปลาร้า รวมทั้งของหวานมีข้าวต้ม นึ่งฟักทอง เผือก อีกส่วนหนึ่งเป็นของขบเคี้ยว มีบุหรี่ หมากพลูแล้วเย็บติดกัน
2. พิธีการทางคณะสงฆ์
เมื่อจัดเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ทางวัดจะตีกลองให้สัญญาณ ต่างก็จัดสิ่งของต่างๆ ลงในถาด
หรือกระจาดมีห่อข้าวใหญ่ ห่อข้าวน้อย ข้าวต้ม ขนม ต่างออกไปวัด ครั้นไปถึงวัดย่อมจัดรวมกันบนศาลาโรงธรรม ครั้นทุกคนมาพร้อมกันแล้วพระสงฆ์จะนั่งบนอาสนะตามอาวุโสเรียบร้อย ทุกคนจะนำเอาห่อข้าวใหญ่ไปจัดไว้ที่ถาดใหญ่หรือสำรับรวมกันมีทั้งขนม ข้าวต้ม ของหวาน ของคาว กองอยู่หน้าพระสงฆ์จากนั้นก็เริ่มพิธีกรรม มีการไหว้พระสวดมนต์ รับศีลเสร็จแล้วกล่าวถวายสงฆ์ คือ กล่าวคำถวายข้าวสากหรือสลากภัต เป็นภาษาบาลี ว่า“เอตานิ มะยัง ภันเต สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ อะสุกัฏฐาเน ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ เอตานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ” (ฉบับที่แก้ไขแล้ว)ค าแปล “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่งสลากภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลาย ซึ่งตั้งไว้ ณ ที่โน้นขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งสลากภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านั้น ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ (ฉบับแก้ไข มนต์พิธี: พระครูอรุณธรรมรังสี,2540)คำกล่าวถวายสลากภัตภาษาบาลี ที่มีความบกพร่อง (ที่ยังไม่ได้แก้ไข) เอตานิมะนังภันเต สะจากะภัตตานิ สะปะริวารานิ อะสุภัฏฐานนฐะปิตานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเตอภิกขุสังโฆ เอตานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(ออนไลน์, ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562)พอกล่าวจบ พระสงฆ์กล่าว สาธุ กล่าวอุปโลกน์ จากนั้นก็มีการแจกห่อข้าวแก่ภิกษุสามเณรหลังจากนั้นก็กล่าวคำเวนห่อข้าวน้อย (คำถวายห่อข้าวน้อย) เพื่อส่งให้แก่ดวงวิญญาณแก่เปรต เมื่อเวนแล้วต่างก็พากันนำเอาห่อข้าวน้อยไปวางตามเจดีย์ ต้นไม้ กิ่งไม้ในบริเวณวัด จากนั้นพระสงฆ์จะอนุโมทนา ต่างก็กรวดน้ำเพื่ออุทิศให้แก่เปตชน ครั้นแล้วต่างก็พากันแย่งชิงเอาห่อข้าวที่ตนวางไว้ เพื่อจะนำเอาไปให้ผีหัวไร่ปลายนา ในเรือกสวนไร่นาของตนกินต่อไป อันเป็นศิริมงคลแก่เรือกสวนไร่นา เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสากของชาวอีสานสิ่งที่สำคัญของการทำบุญข้าวสากคือ เพื่ออุทิศส่วนกุศลซึ่งตนนำสิ่งของต่างๆ ไปทานให้แก่สงฆ์ส่วนหนึ่ง และแจกให้แก่เปรตพวกหนึ่ง เชื่อว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณให้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้ให้ดวงวิญญาณเป็นสุขนวรัตน์ก็จะได้รับคำอวยพรจากดวงวิญญาณอีกด้วยนอกจากนั้นแล้ว ชาวอีสานยังเอาของหวานของคาว ข้าวต้ม ขนมสิ่งต่างๆ แจกจ่าย(ไปส่ง) ให้แก่ญาติอีกด้วย เป็นการเสียสละ สร้างความรักสามัคคี คือ โอกาสเยี่ยมเยียนถามสารทุกข์สุขกันอีกด้วยสรุปการศึกษาประเพณีบุญข้าวสาก มีประเด็นศึกษา 4 ประการ คือ ศึกษาความเป็นมาและการกำเนิด ความสำคัญ การเตรียมงานขั้นตอนพิธีกรรม และการแก้ไขคำถวายสลากภัตให้ถูกต้อง โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตสถานที่จริง ผลการศึกษาพบว่า บุญข้าวสากระเบียบแบบแผนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมานานในฮีตสิบสองคองสิบสี่ เชื่อบนพื้นฐานที่ว่า การท าบุญให้กับบรรพบุรุษที่เป็นวงศาคณาญาติตัวเอง และเปตชนที่ไม่ใช่ญาติ ตลอดถึงสิ่งที่ปกปักษ์รักษาที่เคารพนับถือ ซึ่งชาวอีสานเรียก(ผีตาแฮก) ที่อาจจะแตกต่างกันบ้างก็คงจะเป็น ชื่อประเพณีที่เรียกกันตามภาษาของท้องถิ่น และอาหารที่เป็นพื้นบ้านของแต่ละภูมิภาค และผู้เขียนได้เจาะจงศึกษาประเพณีบุญข้าวสากของบ้านคกมาด ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่มีประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญข้าวสาก (ฮีตสิบสองคองสิบสี่)ที่ยาวนานอีกหมู่บ้านหนึ่งพร้อมๆกับการตั้งหมู่บ้าน บางหมู่บ้านในละแวกเดียวกันไม่มีการสืบต่อประเพณีนี้แล้ว ส่วนที่บ้านนคกมาดชาวบ้านทุกคนยึดถือปฏิบัติพร้อมเพรียงกัน และมีการรักษาขนบธรรมเนียมและประเพณีของบรรพบุรุษไว้อย่าง
เหนียวแน่นบุญข้าวสากเป็นบุญประเพณีที่เชื่อมโยงระหว่างคนเป็นกับคนตาย โดยลูกหลานที่มีชีวิตอยู่ใน
ปัจจุบันประกอบพิธีกรรมต่อบรรพบุรุษของตนที่ละโลกนี้ไปแล้ว โดยมีวัดและพระสงฆ์เป็นสื่อกลาง สะท้อนคุณธรรมสำคัญคือความกตัญญู นอกจากนี้ยังสร้างความเป็นพี่น้องของคนในชุมชน ตลอดถึงความศรัทธาพระพุทธศาสนาเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ถือกันว่าเป็นการทำบุญส่งข้าวเปรต ชาวบ้านนำขนมข้าวต้มของคาวหวานไปวัดทำทานอุทิศส่วนกุศลแก่เปรตชนที่ล่วงลับไปแล้วในประเด็นนี้ถือเป็นความพิเศษของประเพณีบุญข้าวสากของชาวบ้านคกมาดที่มีความแปลกแตกต่างไปจากประเพณีบุญข้าวสากทั่วไปในเขตภาคภาคอีสาน ลักษณะดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ในระบบเครือญาติที่เอื้อเฟื้อเกื้อxxxลสนิทสนมกันอย่างแน่นแฟ้นได้อย่างชัดเจนสำหรับแนวทางการกล่าวคำถวายที่เป็นภาษาบาลีโดยมุขปาฐะที่สืบๆกันมาบางครั้งมีความผิดเพี้ยนกันไป ผู้เขียนเสนอแนวคำบาลีที่ควรจะนำมาใช้ คือ เอตานิ มะยัง ภันเต สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ อะสุกัฏฐาเน ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ เอตานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะทั้งนี้ เพื่อธ ารงไว้ซึ่งภาษาบาลีให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์และให้เป็นวิทยาธารให้กับคนรุ่นใหม่สืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
บทที่ 3
วิธีการ
การศึกษา บุญข้าวสากในเชิงพุทธจริยศาสตร์ชุมชน มีวิธีดำเนินการและใช้วัสดุอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
1.ขั้นตอนการดำเนินการ
1.1. ตั้งชื่อโครงงานที่ต้องการจะทำ
1.2. ศึกษาขั้นตอน
1.3. วางแผนการทำงาน
1.4. แบ่งงานกันไปทำ
1.5. ลงสถานที่จริง
1.6. เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์
1.7. วิเคราะห์ข้อมูลและรวบรวมเป็นรูปเล่ม
2. วัสดุอุปกรณ์
2.1. สมุดจดบันทึก
2.2. ปากกา
2.3. ดินสอ
2.4. ยางลบ
2.5. โทรศัพท์มือถือ
วิธีการศึกษา
ประเด็นศึกษา แหล่งข้อมูล
วิธีการ
เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประเมินคุณค่าหลักฐานวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลและนำเสนอ
(S : Sourcing) (C: Corroboration) (C : Contextualizing)
๑.ประเพณีบุญข้าวสาก มีความเป็นมาอย่างไร
๒.ประเพณีบุญข้าวสากนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไร
๓.ทำไมต้องมีประเพณีบุญข้าวสาก ประเภทเอกสาร
https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/69030
วิเคราะห์ข้อมูล แบบวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตอบประเด็นที่ศึกษา สรุปผลและนำเสนอในรูปแบบโครงงาน
ประเภทบุคคล
-คุณตาบัวเรียน วาปีสา (ครูภูมิปัญญาไทย รุ่น ที่ 2)
-คุณตาทองอาน ทองด้วง (ผู้นำพาการประกอบพิธีกรรมต่างๆ)
-คุณตาลบ พรมโชติ (ผู้เฒ่าผู้แก่)
-คุณตาแคน ปะกะเต (ผู้เฒ่าผู้แก่)
สัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์
ประเภทสถานที่
-บ้านนาเชือก ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม สำรวจพื้นที่และรับชมตัวอย่างการประกอบพิธีกรรม แบบสำรวจ
อุปกรณ์บันทึกภาพ
ใบงาน
แบบสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น
หัวข้อที่ศึกษา : ประเพณีบุญข้าวสาก มีความเป็นมาอย่างไรมีความเป็นมาอย่างไร
ส่วนที่ ๑ รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูล
๑. ชื่อ.....นายบัวเรียน.... นามสกุล.........วาปีสา.......................
๒. อายุ.........๗0...........ปี
๓. อยู่ในชุมชน ตั้งแต่ พ.ศ. .....๒๔๘1.... รวมเวลา.......๗0...........ปี
๔. อาชีพ/ บทบาทหน้าที่ที่มีกับชุมชน
ข้าราชการบำนาญ และบทบาทหน้าที่ที่มีในชุมชน คือ พิธีกร , พาชาวบ้านประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ส่วนที่ ๒ ประเด็นในการสัมภาษณ์และแนวทางคำถามสำคัญ
ประเด็นในการสัมภาษณ์ แนวทางคำถามสำคัญ
ประเพณีบุญข้าวสาก มีความเป็นมาอย่างไร -ประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญข้าวสาก
ประเพณีบุญข้าวสากนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไร -ทำไมต้องมีอาหารคาวหวาน แล้วมีมาตั้งแต่เมื่อไร
ทำไมต้องมีประเพณีบุญข้าวสาก
-จุดมุ่งหมายของการทำบุญประเพณีบุญข้าวสากคือ
ประเพณีบุญข้าวสากของชุมชนชาวอีสานในเชิงพุทธจริยศาสตร ทฤษฎีทางพุทธจริยศาสตร์ในประเพณีบุญข้าวสาก ของชุมชนวิเคราะห์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ได้กี่ระดับ
ใบงาน
การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน
หัวข้อที่ศึกษา ประเพณีบุญข้าวสากของชุมชนชาวอีสานในเชิงพุทธจริยศาสตร์ชุมชนมีความเป็นมาอย่างไรช่วงเวลาการเกิดเรื่องราว (หรือเหตุการณ์ สถานที่ วัตถุ) ยุค/ สมัย 100 กว่าปี
หลักฐาน ช่วงเวลาที่เกิด
หลักฐาน ชนิดของ
หลักฐาน วิเคราะห์
ความน่าเชื่อถือ ข้อมูลที่ได้
จากหลักฐาน
ชั้นต้น ชั้นรอง
๑. ชื่อหลักฐาน
จากการสัมภาษณ์
ที่มา คุณตาบัวเรียน วาปีสา
๑๐๐กว่าปี -ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ -มีการเรียบเรียงภายหลัง จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน คำบอกเล่า
2. ชื่อหลักฐาน
จากการสัมภาษณ์
ที่มา คุณตาสุวิทย์ คุณเศรษฐ์
๑๐๐กว่าปี -ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ -มีการเรียบเรียงภายหลัง จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน คำบอกเล่า
3. ชื่อหลักฐาน
จากการสัมภาษณ์
ที่มา คุณตาลบ พรมโชติ
๑๐๐กว่าปี -ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ -มีการเรียบเรียงภายหลัง จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน คำบอกเล่า
4. ชื่อหลักฐาน
จากการสัมภาษณ์
ที่มา คุณตาแคน ปะกะเต ๑๐๐กว่าปี -ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ -มีการเรียบเรียงภายหลัง จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน คำบอกเล่า
ใบงาน
การสรุปข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ศึกษา ประเพณีบุญข้าวสากของชุมชนชาวอีสานในเชิงพุทธจริยศาสตร มีความเป็นมาอย่างไร
บรรณานุกรม
ชื่อผู้นาม-สกุลผู้แต่ง ......................ไม่มี....................... ชื่อหนังสือ ................................................
จังหวัดที่พิมพ์ ................................... สำนักพิมพ์ ............................ , ปี พ.ศ.
ประเด็นคำถาม
คำถามที่ ๑ .............................................................................................................................................
ข้อมูลที่ได้จากหนังสือ หน้าที่ .........
ข้อมูล ที่ได้คือ
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
คำถามที่ ๒ .............................................................................................................................................
ข้อมูลที่ได้จากหนังสือ หน้าที่ .........
ข้อมูล ที่ได้คือ
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
คำถามที่ ๓ .............................................................................................................................................
ข้อมูลที่ได้จากหนังสือ หน้าที่ .........
ข้อมูล ที่ได้คือ
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ใบงาน
การสรุปข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ศึกษา ประเพณีบุญข้าวสากของชุมชนชาวอีสานในเชิงพุทธจริยศาสตร มีความเป็นมาอย่างไร
หลักฐาน
ข้อมูลที่ได้จากหลักฐาน
จากการสัมภาษณ์คุณตาบัวเรียน วาปีสา คุณตาทองอาน ทองด้วง คุณตาลบ พรมโชติ คุณตาแคน ปะกะเต ชาวบ้านนาเชือก ต.นาเชือก
อ.นาเชือก
จ.มหาสารคาม คุณตาบัวเรียน วาปีสา, คุณตาทองอาน ทองด้วง, คุณตาลบ พรมโชติ ,คุณตาแคน ปะกะเต ได้ให้ข้อมูลกับเด็กๆว่า ในสมัยก่อนจะเดินทางสัญจรไปมาไม่สะดวกเหมือนทุกวันนี้ จะเดินทางไปไหนต้องใช้วัวเทียมเกวียน หรือไม่ก็เดินเท้า ในตำบลหนึ่งๆจะมีรถโดยสารประทางแค่ ๑ คัน การเข้าไปในเมืองนานๆถึงจะได้ไปและหาซื้อสิ่งของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น ชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่ที่ท้องไร่ท้องนา ไร่นาจึงเป็นบ้านอีกหลังของชาวบ้าน ความผูกพันธ์ของชาวบ้านกับทุ่งนาจึงเป็นวิถีชุมชนที่ต้องพึ่งพาต่อกัน ดังนั้นในทุกๆปีก่อนที่จะมีการลงทำนาชาวบ้านก็จะมีการเลี้ยงผีข้าวสาก ซึ่งก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เจ้าที่เจ้าทาง ที่คอยปกปักษ์รักษาเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน เป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณและนับถือเป็นเหมือนร่มโพธิ์ร่มไทรเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเรื่อยมา การเลี้ยงก็จะมีข้าวปลาอาหารคาวหวานตามธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติมา เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหาร ฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาล ความเชื่อนี้จึงกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบทอดกันมาจนปัจจุบัน
สรุป ผีตาแฮก เป็นระบบความเชื่อพื้นฐานของชาวบ้านกุดเม็ก คือ ความเชื่อในเรื่องภูตผีปีศาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ยังคงคอยเฝ้าดูแล และช่วยเหลือลูกหลานสืบทอดกันมา
ใบงาน
แบบวิเคราะห์ข้อมูล หลักฐานประเภทบุคคล
หลักฐาน
(ประเภทบุคคล)
คำถามที่ 1 บุญข้าวสาก มีความเป็นมาอย่างไร
-คุณบัวเรียน วาปีสา 70 ปี (ผู้ประกอบพิธีกรรม) ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2
-คุณตาทองอาน ทองด้วง 65 ปี (ผู้ประกอบพิธีกรรม) เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในวันที่จะมีการทำพิธีกรรมต่างๆ
-คุณตาลบ พรมโชติ 75 ปี (ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน) เป็นผู้บอกเล่าสืบต่อกันมา
-คุณตาแคน ปะกะเต 81 ปี (ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน)
เป็นผู้บอกเล่าสืบต่อกันมา
สรุป ความเชื่อของประเพณีบุญข้าวทำเพื่ออุทิศใหแก่ผู้ที่ตายหรือเปรต ทุกคนให้ความสำคัญเกี่ยวกับบุญนี้มาก จะพากันทำอย่างกระตือรือร้นรับเพราะเชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะมีความหิว กําลังรอส่วนบุญจากงานนี้ เมื่อถึงงานบุญจึงพากันทำอย่างศรัทธานําไปถวายพระสงฆ์-สามเณร และอุทิศส่วนบุญกุศลแก่ผู้ตายและเปรต กระทำด้วยศรัทธาบุญกุศลก็จะหนุนให*มีความสุขจนสู่พระนิพพาน