รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ครั้งนี้ผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบ IPO Model (อ้างในสมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2551:202-209) โดยมีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อรายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ตามแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 2) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 3) เพื่อประเมินผลผลิต (Output Evaluation) โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คณะครูโรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ จำนวน 47 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ จำนวน 870 คน
รวมทั้งสิ้น จำนวน 917 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบตัวเลือกที่กำหนด (Forced choice) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scales) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert scale) (บุญชม ศรีสะอาด. 2560: 70) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ ด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ระดับความพร้อมด้านปัจจัย 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบุคคล 2) ด้านงบประมาณ
3) ด้านทรัพยากร อุปกรณ์ และ 4) ด้านการบริหารจัดการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยภาพรวมระดับความพร้อม อยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด มี 2 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพร้อมอยู่ในระดับมาก คือ ข้อที่ 4 ครูที่ปรึกษามีความพร้อมในการให้ความรู้ ความเข้าใจและจัดกิจกรรมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน และข้อที่ 8 สถานศึกษาสามารถเบิกจ่ายงบประมาณสะดวกและรวดเร็วตรงเวลา และทั่วถึงทุกขั้นตอน
2. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ ด้านกระบวนการ (Process) ระดับการปฏิบัติ ด้านกระบวนการ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวางแผน(Plan) 2) การดำเนินกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Do) 3) การตรวจสอบและประเมินผล (Check)
และ4) การทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงาน (Act) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมระดับการปฏิบัติด้านกระบวนการอยู่ในระดับ มากที่สุด
เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน แต่ด้านการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานและการรายงานผล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
3. ด้านผลผลิต (Output Evaluation)
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ ด้านผลผลิต (Output Evaluation) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวม พบว่า ระดับการปฏิบัติด้านผลผลิต (Output Evaluation) อยู่ในระดับ มากที่สุด สรุปแต่ละองค์ประกอบได้ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านผลลัพธ์ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มี 3 ข้อ ที่มีค่าเฉลี่ย
การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ ข้อที่ 10 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนร่วมกับโรงเรียน/สถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อที่ 14 การประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต การเสริมสร้างความปลอดภัย และการคุ้มครองนักเรียน เพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และข้อที่ 18 ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนส่งผลต่อประสิทธิภาพของโรงเรียน/สถานศึกษา และชุมชนท้องถิ่น
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐานระดับ 3 ขึ้นไป อยู่ในระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 51.41) เมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐานระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 35.25 อยู่ในระดับปานกลาง
ด้านผลสมรรถนะของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมของผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนที่ได้ระดับดีขึ้นไป มีจำนวน 793 คน คิดเป็นร้อยละ 91.15 อยู่ในระดับดีเยี่ยม เมื่อพิจารณา
เป็นรายชั้น พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีเยี่ยม
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่ได้ระดับดีขึ้นไป มีจำนวน 841 คน คิดเป็นร้อยละ 96.67 อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาเป็นรายชั้น พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีเยี่ยม