การประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนวีร
โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
ผู้ศึกษา ครองสุข หารไชย
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและ จัดการศึกษา โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน สำนักงานการศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ในปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินตามรูปแบบ ซิป (CIPP Model) การประเมินมี 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ประชากรที่ใช้ประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน จำนวน 110 คน ที่เลือกมาโดยการเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)และนำเสนอในรูปแบบตารางคำบรรยายและการทำการวิเคราะห์ความคิดเห็นข้อเสนอแนะโดยใช้ความถี่ประกอบความเรียง
ในภาพรวม การประเมินโครงการ ในรูปแบบ (CIPP Model) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริหารและครูโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน ในภาพรวมความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
1.การประเมินสภาพแวดล้อม (Context) ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด
2. การประเมินข้อมูลนำเข้า (Input) ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด
3. การประเมินกระบวนการ (Prcess) ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินผลผลิต (Product) ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด