ประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านสารจิตร
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวสาวิตรี อิ่มเพ็ง
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านสารจิตร
มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1)เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่าง วัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 นโยบาย โรงเรียน และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับ ความเหมาะสมเพียงพอของโครงการใน 4 กิจกรรม เกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ เกี่ยวกับความร่วมมือของคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศติดตามผลและสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน 4) เพื่อประเมินผลผลิต ของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความมีวินัย ความเสียสละ ความสามัคคี ความประหยัด การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียรและความเมตตา และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อ โรงเรียน ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านสารจิตร
กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสารจิตร จำนวน 13 คน ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนบ้านสารจิตร จำนวน 23 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 326 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 326 คน ผู้นำชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดย
การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมจำนวน 698 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบประเมิน
เกี่ยวกับบริบทของโครงการความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายโรงเรียน ความต้องการและความ จำเป็นของโรงเรียน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 2 แบบประเมินเกี่ยวกับ ปัจจัยเบื้องต้นด้านความเหมาะสมและพอเพียงเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และ บุคลากรในชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนบ้านสารจิตร จำนวน 56 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบประเมิน เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการตามโครงการกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทิน การปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย
การนิเทศติดตามผล และสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน จำนวน 40 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบประเมินผลผลิตของโครงการที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการมี คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ได้แก่ พฤติกรรม
ของนักเรียนในด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความมีวินัย ความเสียสละ ความประหยัด ความขยันหมั่นเพียร ความสามัคคี และความเมตตากรุณา จำนวน 84 ข้อ ฉบับที่ 5 แบบประเมิน ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านสารจิตร จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 6 แบบประเมินผลกระทบการดำเนินงานของโครงการ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการสอนและการนิเทศ ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ด้านความสัมพันธ์ กับชุมชน และด้านการประเมินผล จำนวน 30 ข้อการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบประเมิน แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน
ผลการประเมินโดยสรุปดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
บ้านสารจิตร ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน พบว่า วัตถุประสงค์ของกิจกรรมย่อยทุกกิจกรรมกับนโยบายของกระทรวง นโยบายของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 นโยบายโรงเรียน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ความต้องการและความจำเป็นของ โรงเรียน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นด้านความเหมาะสมและพอเพียงเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของ ฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน พบว่า ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมเชิงปฏิบัติการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมและพอเพียงอยู่ในระดับมากทุกรายการ ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา ในภาพรวมมีความเหมาะสม และพอเพียงอยู่ในระดับ มากทุกรายการ ปัจจัยเบื้องต้น ของกิจกรรมเชิดชูเด็กดีมีคุณธรรม ในภาพรวมมีความเหมาะสมและพอเพียงอยู่ในระดับมากทุกรายการ ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมคุณธรรมประจำวันศุกร์ ในภาพรวม มีความเหมาะสมและพอเพียงอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตาม
ความ คิดเห็นบุคลากรภายในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา เกี่ยวกับความ ร่วมมือของคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศติดตามผลและสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงานของกิจกรรม
ในแต่ละกิจกรรมย่อย พบว่า กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมเชิงปฏิบัติการในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ ในระดับปฏิบัติมาก จุดเด่น คือ เป็นกิจกรรมที่นักเรียนให้ความสนใจ วิทยากรสามารถแก้ไข พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และสามารถสร้างจิตสำนึกให้เกิดแก่นักเรียนได้ในหลาย ๆ ด้าน จุดด้อย ของโครงการ พบว่า การไม่ต่อเนื่องในการปฏิบัติกิจกรรมหลังจากจบกิจกรรม ซึ่งได้ดำเนินการ ปรับปรุงแก้ไข โดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการติดตามการประพฤติปฏิบัติตนต่อที่บ้าน กิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับ ปฏิบัติมาก จุดเด่น คือ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังให้ เกิดจิตสำนึกในการสืบสานประเพณีให้คงอยู่ต่อไป และนักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกับบุคคลในชุมชน ทำให้เกิดความคุ้นเคยกันเป็นอย่าง จุดด้อย คือ การไปร่วมกิจกรรมที่วัดอาจทำให้นักเรียนเสียเวลาเรียน ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไขโดยการนำนักเรียนไปทำกิจกรรมในวันหยุดหรือเสาร์ - อาทิตย์แทน กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมเชิดชูเด็กดีมีคุณธรรม ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับปฏิบัติมาก จุดเด่น คือ เป็นกิจกรรมที่สามารถฝึกให้เด็กสามารถคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบแยกแยะได้ระหว่างความ ดีและความชั่วและสามารถปฏิบัติได้จนติดเป็นนิสัย จุดด้อยของโครงการ คือ ไม่สามารถตรวจสอบได้ ว่าสิ่งที่นักเรียนได้บันทึกมานั้นเป็นความจริงหรือไม่ ปรับปรุงแก้ไขโดยการหามาตรการในการ ตรวจสอบโดยการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการตรวจสอบหาหลักฐานในการบันทึกความดี กระบวนการดำเนินงานตาม กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมคุณธรรมประจำวันศุกร์ ระดับการปฏิบัติในภาพรวมมี การปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติมาก จุดเด่น คือ เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนได้ฝึกฝนการสวดมนต์ไหว้ พระและทำสมาธิได้ในเวลาเดียวกัน และเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาจิตใจของนักเรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จุดด้อย คือ สถานที่ทำกิจกรรมเป็นอาคารเรียน เวลาทำสมาธินักเรียนจะร้อนทำให้ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาที่ใช้ทำกิจกรรมเป็นเวลาเย็นก่อนกลับบ้านซึ่งก่อนทำกิจกรรมนักเรียนจะเล่นมาก เกิดความอ่อนเพลียและเหนื่อยจากการเล่นทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อและไม่มีสมาธิ ซึ่งปรับปรุงแก้ไข โดยการปรับเปลี่ยนเวลาทำกิจกรรมเป็นเวลาช่วงเช้าก่อนเข้าห้องเรียนในวันศุกร์และจัดสภาพแวดล้อม ของสถานที่ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรม ดังนั้นหลังจากมีการปรับเปลี่ยนเวลาในการทำกิจกรรมแล้ว ทำให้นักเรียนมีความพร้อมและตั้งใจในการปฏิบัติกิจกรรมมากขึ้น
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล ความกตัญญู ความมีวินัย ความเสียสละ ความประหยัด ความขยันหมั่นเพียร ความสามัคคีและความเมตตากรุณา พบว่า นักเรียน
มีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ
ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนบุคลากรในโรงเรียนและชุมชนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสารจิตร ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินผลกระทบการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของ นักเรียนโรงเรียนบ้านสารจิตรที่มีต่อโรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ทั้ง 6 ด้านในโรงเรียน คือ ด้านการบริหาร ด้านจัดสภาพแวดล้อม ด้านการสอนและการนิเทศ ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน
ด้านความสัมพันธ์กับชุมชนและด้านการประเมินผลทางคุณธรรมจริยธรรมในภาพรวมมีผลกระทบ
อยู่ในระดับมาก