การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพื่อบริหารความเสี่ยงฯ
อุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา
ชื่อผู้ประเมิน นายอมรินทร์ มัชฌิมาภิโร
ปีการศึกษา 2564
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา 2) เพื่อประเมินการบริหารความเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ด้วยตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) จำนวน 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพื่อบริหารความเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา มี 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน รองลงมา คือ การดำเนินงานของโครงการ มีความชัดเจนตามเป้าหมาย ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการจัดบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ รองลงมา คือ สถานที่ว่ามีความพร้อม เหมาะสมกับการการจัดกิจกรรม ด้านกระบวนการ ผู้รับผิดชอบโครงการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานอย่างชัดเจน รองลงมา คือ มีการกำหนดนโยบาย แนวทางการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน ส่วนมีการสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ส่วนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการ รองลงมา คือ มีการช่วยพัฒนาสุขภาพนักเรียน ให้รู้จักวิธีการป้องกันโรค และด้านผลผลิต ผู้รับผิดชอบโครงการ ประเมินโดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านบริการอนามัยโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ บริการอนามัยโรงเรียน รองลงมา คือ การใช้คำปรึกษา และให้การสนับสนุนทางสังคม และการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน ส่วนโครงการร่วมระหว่างโรงเรียน และชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ส่วนนักเรียน โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สุขศึกษาในโรงเรียน รองลงมา คือ บริการอนามัยโรงเรียน
2. การประเมินการบริหารความเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา มี 5 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลลัพธ์ และด้านผลกระทบ ประเมินการบริหารความเสี่ยงโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิต รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ