การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมฯ
โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนคร
สงขลา
ชื่อผู้วิจัย นายอมรินทร์ มัชฌิมาภิโร
ปีการศึกษา 2564
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ และ3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา กำหนดวิธีการเลือกตัวอย่าง ด้วยตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ มี 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์หาความต้องการจำเป็น โดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI Modified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วย 3 ตัวแปร 20 ตัวชี้วัด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม 6 ตัวชี้วัด ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 7 ตัวชี้วัด และด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 7 ตัวชี้วัด ซึ่งทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบัน และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ สภาพปัจจุบัน พบว่า ครูมีความต้องการความรู้ ด้านการทำงานเป็นทีม ได้แก่ การให้ความร่วมมือช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน การเสริมแรงให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่หลากหลาย การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตาม การเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย และสมรรถนะ 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ควรเน้นกิจกรรมทำงานร่วมกันเป็นทีมสลับสับเปลี่ยนความเป็นผู้นำ ผู้บริหารเป็นผู้สนับสนุน รับฟังคณะครูปฏิบัติการเพื่อสร้างความไว้วางใจ ให้ผู้ปฏิบัติกล้าพูดกล้าระดมความคิด ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น แสดงบทบาทผู้นำและผู้ตามอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครู ส่วนดัชนีความต้องการจำเป็น ด้านการทำงานเป็นทีม เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การมีเป้าหมายเดียวกัน การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ยอมรับความเห็นร่วมกัน การให้โอกาสกับสมาชิกทุกคนการมีส่วนร่วม ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ตามลำดับ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การจัดเก็บความรู้ การแลกเปลี่ยนข้อมูล เทคโนโลยีการสื่อสาร เครือข่ายระหว่างบุคคล การคิดเชิงระบบ ชุมชนนักปฏิบัติ และการฝึกอบรม ตามลำดับ และด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ระยะที่ 3 ส่งมอบนวัตกรรม ระยะที่ 1 เข้าใจปัญหา และระยะที่ 2 พัฒนาไอเดีย ตามลำดับ
3. ผลการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ พบว่า การเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ครูมีสมรรถนะหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 ความรู้ความเข้าใจสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ พบว่า สมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สูงกว่า ร้อยละ 80 ทุกด้าน และความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เมื่อพิจารณาด้านการทำงานเป็นทีม พบว่า ทั้งรายด้าน และภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด