ผลงานการวิจัยเจตคติที่มีต่อวินัยตนเอง รายวิชาการเป็นผู้ประกอบการ
รายงานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง “เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563
โดย
นางพรฤทัย มณีวรรณ
ครู
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
การพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านวินัยในตนเอง การมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน อีกทั้งสามารถเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านการเรียนให้มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และการเรียนรู้อย่างยั่งยืนเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี
นางพรฤทัย มณีวรรณ
ผู้วิจัย
สารบัญ
บทที่ หน้า
1 บทนำ 1
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 1
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า 2
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 2
นิยามศัพท์เฉพาะ 2
2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3
ความหมายของเจตคติ 3
องค์ประกอบของเจตคติ 3
ความหมายของวินัย 4 ประเภทของวินัย 5
คุณลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง 6
การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง 6
ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของความมีวินัยในตนเอง 7
ลักษณะของบุคคลที่มีวินัยในตนเอง 7
ความอดทน 8
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า 9
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 9
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 10
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 10
การเก็บรวบรวมข้อมูล 10
การวิเคราะห์ข้อมูล 10
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 11
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 15
การอภิปรายผล 16
ข้อเสนอแนะ 21
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 21
บทที่ 1
บทนำ
ในสังคมที่มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การพัฒนาเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ ประการเกื้อหนุนกัน แต่ปัจจัยหลักของการพัฒนา จำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ซึ่งบุคคลที่มีคุณภาพนั้น จะต้องมีคุณสมบัติทั้งทางด้านสมรรถภาพทางร่างกายแข็งแรงและจิตใจที่ดี มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถ มีความอดทน ขยันขันแข็ง ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก เผชิญปัญหาและอุปสรรคด้วยความมุ่งมั่น คุณสมบัติเหล่านี้ จำเป็นต้องถูกหล่อหลอมให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลในรูปของคำว่า “วินัยในตนเอง” วินัยในตนเองเป็นวัฒนธรรมของสังคมที่ทุกคนต้องปฏิบัติเพราะจะทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสุข วินัยในตนเองนี้เป็นคุณธรรมประการหนึ่งที่ทุกคนควรสร้างขึ้นสำหรับบังคับพฤติกรรมของตนเอง ทำให้คนเราบรรลุจุดหมายของชีวิตประสบความสุขความเจริญในชีวิต จึงเป็นวินัยที่ครูควรสร้างสรรค์ให้เกิดแก่เด็กในระดับมัธยมศึกษาที่พร้อมจะก้าวสู่การศึกษาต่อและการทำงานในองค์กร เพราะถ้าเด็กมีวินัยในตนเองนั้นจะทำให้เด็กได้ควบคุมพฤติกรรมของตนให้เป็นไปในทางที่ดีงามและประสบความสำเร็จในชีวิต จึงต้องดำเนินการฝึกให้เกิดผลอย่างจริงจัง เด็กนั้นนับว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดของประเทศ หากไม่ได้เตรียมพัฒนาเด็กให้เป็นทรัพยากรที่ดีแล้ว การพัฒนาประเทศอาจจะเป็นไปได้ไม่เต็มที่ จะเห็นได้ว่าความมีวินัยในตนเองเป็นลักษณะที่จำเป็นต้องปลูกฝังให้กับเยาวชน เมื่อเยาวชนมีวินัยในตนเองเป็นพื้นฐานและมีวินัยต่อสังคม ผลที่สุดก็จะวินัยต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีการพัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
ผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญของจริยธรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมด้านวินัยในตนเอง โดยเห็นว่าวินัยในตนเองเป็นคุณลักษณะในตัวบุคคลที่ควบคุมตนเองได้ ทั้งในด้านอารมณ์และพฤติกรรม ผู้ที่มีวินัยในตนเองจะเป็นบุคคลที่รู้จักกาลเทศะ สนใจและเอาใจใส่ต่อสังคม เป็นผู้ที่มีระเบียบและปฏิบัติตามกฎของสังคม
จากการศึกษาความหมายและขอบข่ายและพฤติกรรมของความมีวินัยในตนเอง ทำให้ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ผู้วิจัยจึงศึกษาเรื่อง “เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน
2. เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านความขยันอดทนทางการเรียน
3. เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะทำให้ทราบถึงเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน ครูแนะแนว ผู้ปกครองในการนำปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนมาสร้างเสริม พัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติสืบไป
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากร ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 97 คน
2. กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 19 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 38 คน ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ รวมจำนวน 57 คน
3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรอิสระ คือ เจตคติที่มี่ต่อวินัยในตนเองได้แก่
3.1.1 วินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน
3.1.2 ความขยันอดทนทางการเรียน
3.1.3 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.2 ตัวแปรตาม คือ
พฤติกรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ความมีวินัยในตนเอง หมายถึง การกระทำของบุคคลในการประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมอย่างถูกต้อง และไม่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคม รวมถึงการให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ร่วมรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ
2. ความอดทน หมายถึง การกำหนดพฤติกรรมของตนเองให้มีความเข็มแข็ง ความหนักแน่นของจิตใจในการควบคุม อารมณ์ จิตใจ ร่างกาย ให้สามารถเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หมายถึง ความมุ่งมั่นของนักเรียนที่จะทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ตามมาตรฐานสูงสุดหรือเป็นไปตามที่นักเรียนวางไว้ โดยนักเรียนได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เมื่อมีอุปสรรคก็คิดหาทางแก้ไขโดยไม่ย่อท้อ รวมถึงการมุ่งมั่นตั้งใจให้การเรียนรู้ด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัดเจน
บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ผู้วิจัยได้จัดลำดับตามสาระดังนี้
1 ความหมายของเจตคติ
2. องค์ประกอบของเจตคติ
3. ความหมายของวินัย
4. ประเภทของวินัย
5. คุณลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง
6. การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง
7. ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของความมีวินัยในตนเอง
8. ลักษณะของบุคคลที่มีวินัยในตนเอง
9. ความอดทน
10. ความสำคัญและความหมายของความอดทน
ความหมายของเจตคติ
เจตคติเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ อันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมหรือแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ไปในทิศทางหนึ่ง อาจเป็นไปในทางสนับสนุนหรือคัดค้านก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขบวนการการอบรมให้การเรียนรู้ระเบียบวิธีของสังคม ซึ่งเจตคตินี่จะแสดงออกหรือปรากฏให้เห็นชัดในกรณีที่สิ่งเร้านั้นเป็นสิ่งเร้าทางสังคม
องค์ประกอบของเจตคติ
องค์ประกอบของเจตคติมี 3 ประการ ได้แก่
1. ด้านความคิด ( Cognitive Component) หมายถึง การรับรู้และวินิจฉัยข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับ แสดงออกมาในแนวคิดที่ว่าอะไรถูก อะไรผิด
2. ด้านความรู้สึก ( Affective Component) หมายถึง ลักษณะทางอารมณ์ของบุคคลที่สอดคล้องกับความคิด เช่น ถ้าบุคคลมีความคิดในทางที่ไม่ดีต่อสิ่งใด ก็จะมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อสิ่งนั้นด้วย จึงแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกไม่ชอบหรือไม่พอใจ
3. ด้านพฤติกรรม ( Behavior Component) หมายถึง ความพร้อมที่จะกระทำซึ่งเป็นผลมาจากความคิดและความรู้สึกและจะออกมาในรูปของการยอมรับหรือปฏิเสธ การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ
ความหมายของวินัย
คำว่า วินัย หรือ ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Discipline มีผู้ให้คำนิยามไว้หลายลักษณะ อาทิ เช่น พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของวินัยไว้ ดังนี้ วินัยหมายความว่า ระเบียบสำหรับกำกับความประพฤติให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกฎระเบียบแบบแผน ข้อตกลงที่สังคมกำหนดให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข
นอกจากนี้การให้นิยามของวินัย ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันตามเงื่อนไขของการใช้คำว่า วินัย ว่ามีความมุ่งหมายเพื่ออะไร เช่น ในด้านการศึกษา การให้คำนิยามของวินัย จะมีความหมายถึง พฤติกรรมของครู ซึ่งมีเจตนาที่จะสร้างสรรค์และดำรงไว้ซึ่งเงื่อนไขที่มีความจำเป็นที่สุดในความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในการเรียนการสอนและพัฒนาความสามารถในการควบคุมตนเองของผู้เรียน ซึ่งระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่สถาบันการศึกษาได้กำหนดขึ้นให้ผู้เรียนต้องปฏิบัติตาม ถ้าฝ่าฝืนจะต้องมีการทำโทษตามกฎระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนดไว้
ทั้งนี้จากเอกสารการสอนวิชาการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้สรุปความหมายของวินัยได้เป็น 2 แนวทาง คือ
1. ความหมายในทางรูปธรรม หมายถึง ข้อปฏิบัติ หรือ แบบสำหรับคนในองค์กรในหมู่ ในเหล่า ในวงการแต่ละแห่ง โดยข้อปฏิบัติหรือแบบที่กำหนดไว้สำหรับสมาชิกในองค์กรนั้น ๆ จะเรียกว่า วินัย อาทิเช่น วินัยทหาร วินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ
ความหมายของวินัยในทางรูปธรรม สามารถนำไปใช้เป็นหลักในทางปฏิบัติได้ว่า
1.1 วินัยในองค์กรต่าง ๆ อาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป การกระทำอย่างเดียวกันในองค์กรหนึ่งอาจจะไม่ถือว่าการปฏิบัติดังกล่าวเป็นความผิด
1.2 ในการพิจารณาว่าการกระทำใดผิดวินัยหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าเป็นการกระทำที่ผิดข้อปฏิบัติ หรือผิดแบบของสมาชิดในองค์กรนั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีการกำหนดไว้ในข้อปฏิบัติ จะไม่ถือว่าเป็นความผิด หรือในกรณีกลับกันถ้าหากมีข้อปฏิบัติกำหนดไว้และมีการฝ่าฝืนก็ถือว่าผิดข้อปฏิบัติ
1.3 ในการกำหนดระดับการลงโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดวินัย จะต้องพิจารณาการกำหนดความหนักเบาของโทษ โดยแตกต่างกันออกไปในแต่ละองค์กร
2. ความหมายในทางนามธรรม หมายถึง ลักษณะเชิงพฤติกรรม ( Behavior ) ที่แสดงออกมาเป็นการควบคุมตนเอง การยอมรับหรือปฏิบัติตามการนำ หรือ การบังคับบัญชา การมีระเบียบและการอยู่ในแบบแผน
จากความหมายของวินัยในทางนามธรรม จะพบว่าโดยแท้จริงแล้ว วินัยที่ต้องการหาใช่ตัวข้อปฏิบัติ หรือตัวแบบแผนไม่ หากแต่วินัยที่ต้องการให้มี คือ การควบคุมตน การปฏิบัติตามข้อบังคับ การอยู่ในแบบแผน การปฏิบัติตามการนำ การปฏิบัติตามการบังคับบัญชา การมีระเบียบและลักษณะเชิงพฤติกรรมดังกล่าวจะแสดงออกมาด้วยสิ่งที่มาจากพื้นฐานทางจิตใจ ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำให้ทุกคนในองค์กรมีวินัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับพฤติกรรม ต้องพัฒนาจิตใจ ต้องนำต้องกำกับด้วย มิใช่มุ่งแต่จะพัฒนาหาทางกำหนดข้อปฏิบัติหรือระเบียบให้มีความครอบคลุมรัดกุมแต่เพียงอย่างเดียว หรือมุ่งแต่จะคอยลงโทษเมื่อมีสมาชิกในองค์กรคนใดคนหนึ่งกระทำการฝ่าฝืน ข้อปฏิบัติหรือระเบียบขององค์กร
ประเภทของวินัย
หลักสำคัญของวินัยมีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ให้อยู่ในกรอบปฏิบัติเดียวกัน ด้วยเหตุที่แต่ละคนต่างมีภูมิหลังที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาวะแวดล้อม ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนความเชื่อ ค่านิยมต่าง ๆ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้สมาชิกในสังคมแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการมาอยู่รวมกันจึงอาจจะทำให้เกิดการกระทำตามความพึงพอใจของตนเอง ฉะนั้นการมีแนวทางปฏิบัติเดียวกันจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายในสังคม จึงได้มีการแบ่งประเภทของวินัยเป็น 4 ประเภท คือ
1. วินัยในตนเอง
2. วินัยในห้องเรียน
3. วินัยในโรงเรียน
4. วินัยทางสังคม
แต่โดยส่วนใหญ่ แล้ว การแบ่งประเภทของวินัยโดยใช้เกณฑ์แหล่งที่มาของอำนาจที่ใช้ในการควบคุมพฤติกรรม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. วินัยภายนอก หรือ ส่วนรวม หรือวินัยสำหรับหมู่คณะ ( External Authority Discipline ) วินัยที่ออกมาจากอำนาจภายนอก เพื่อบังคับให้บุคคลทุกคนในสังคมปฏิบัติตามเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดังนั้นการที่บุคคลใดประพฤติปฏิบัติตามก็ด้วยความเกรงกลัวอำนาจหรือการลงโทษ จึงเป็นการปฏิบัติตามที่บุคคลอยู่ในภาวะจำยอมจากการถูกควบคุม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการไม่ปฏิบัติตามวินัยซึ่งถูกกำหนด แต่ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว วินัยประเภทนี้จะตั้งกฎเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติไว้เป็นกลาง ๆ ดังนั้นทุกคนจึงสามารถประพฤติปฏิบัติตามได้
2. วินัยในตนเอง ( Self - Discipline ) หมายถึง แนวทางที่บุคคลเลือกปฏิบัติเพื่อบังคับตนเองให้ปฏิบัติตาม ทั้งนี้เกิดจากความสมัครใจโดยมิได้ถูกบังคับ ควบคุมจากอำนาจภายนอกแต่อย่างใด และข้อปฏิบัติดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อกฎระเบียบของสังคม ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายหลักคือ การเกิดความสงบสุขภายในสังคม
วินัยในตนเอง จึงเป็นความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการของตน โดยมิได้เกิดจากการถูกบังคับจากอำนาจภายนอก หากแต่เกิดจากแรงกระตุ้นภายในของตัวบุคคลนั้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเกิดการเรียนรู้ว่าเป็นค่านิยมที่ดี ซึ่งสอดคล้องตามกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนของสังคม และไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากเดือดร้อนแก่ตนเองและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีสิ่งเร้าจากปัจจัยภายนอกและภายใน ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างที่ตนหวังไว้
คุณลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง
การที่บุคคลมีวินัยในตนเอง ย่อมหมายถึง บุคคลนั้นเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ด้วยเหตุที่ วินัยในตนเอง คือ ลักษณะที่มีความสำคัญต่อการแสดงออกทางคุณธรรมและจริยธรรม จึงสรุปได้ว่า บุคคลที่มีวินัยในตนเองควรมีคุณลักษณะและพฤติกรรมดังนี้ คือ มีความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความตั้งใจ มีความอดทน มีความเป็นผู้นำ มีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา
การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง
หากต้องการที่จะปลูกฝังวินัยในตนเองควรที่จะเริ่มต้นในวัยเด็ก เพราะพฤติกรรมในช่วงวัยนี้จะจัดอยู่ในประเภทพฤติกรรมที่ยังไม่มีทิศทางที่แน่นอน (Doubtful Behavior) ซึ่งการแสดงพฤติกรรมจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และองค์ประกอบที่แวดล้อม ดังนั้น จึงง่ายต่อการปลูกฝังความมีวินัย และกระบวนการที่เหมาะสมและได้ผลดีที่สุด คือ การถ่ายทอดทางสังคม
การต้องการเสริมสร้างระบบการสร้างวินัยในตนเองที่ดี ไม่ควรมุ่งเน้นที่การลงโทษ อันเป็นวิถีทางที่จะส่งผลกระทบในทางลงเสียมากกว่า หากแต่การสร้างวินัยในตนเองที่ดีควรใช้แนวทางในการฝึกอบรมหรือให้ความรู้ ความเข้าใจมากกว่า โดยต้องทำความเข้าใจว่า เพราะเหตุใดจึงมีความต้องการและความจำเป็นขององค์กรในการที่ต้องการขอความร่วมมือจากสมาชิกในองค์กร ในส่วนของความมีวินัยเพื่อจะได้ไปสู่จุดหมายร่วมกัน โดยการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองมี 4 แนวทางดังนี้
1. เรียนรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ดึงวินัยขององค์กรที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ว่ามีแนวทางปฏิบัติหรือห้ามปฏิบัติอะไร อย่างไรบ้าง
2. สำนึกในหน้าที่ว่า จะต้องปฏิบัติตามแบบอย่างหรือต้องรักษาวินัยขององค์กร
3. ตระหนักถึงความสำคัญของวินัยว่า จะสร้างความเจริญ ความดีงามและความสำคัญให้แก่ทั้งตนเองและองค์กร
4. ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติในข้อห้ามอย่างเคร่งครัด
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แนะแนวทางในการส่งเสริมความมีวินัยในตนเองไว้ดังนี้
1. สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
2. ให้โอกาสเด็กที่จะริเริ่มทำกิจกรรมอย่างอิสระ
3. สนับสนุนให้เด็กมีโอกาสคิดและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
4. เปิดโอกาสให้เด็กช่วยกันสร้างข้อตกลง
5. แสดงความชื่นชมเมื่อเด็กปฏิบัติตามข้อตกลง ให้กำลังใจและช่วยเหลือเด็กที่
ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
6. ทบทวนสิ่งที่ได้กระทำ โดยการถามหรือกล่าวชมเชย
ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของความมีวินัยในตนเอง
คุณค่าของวินัย นั้นช่วยให้กลุ่มคนหรือสังคมต่างๆ อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ซึ่งวินัยไม่ได้หมายถึง กฎเกณฑ์ หรือ ระเบียบ ข้อบังคับ ในกลุ่มชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ยังหมายถึงกฎเกณฑ์หรือระเบียบวินัยในตนเองด้วย กลุ่มสังคมใดที่มีสมาชิกที่มีวินัยในตนเองมาก วินัยในสังคมนั้นก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างมากนัก เพราะทุกคนในสังคมจะมีความรับผิดชอบสูงและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกัน และมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างดี
จุดมุ่งหมายของวินัยทั้งหลายนั้นมิใช่การควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนให้เป็นแนวทางที่ผู้ใหญ่ต้องการ แต่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของวินัย คือ เพื่อให้เด็กเกิดความต้องการที่จะกระทำสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์แก่สังคมด้วยตนเอง มิใช่จากสิ่งที่อยู่แวดล้อมหรือการบังคับบัญชา วินัยที่ดีเกิดขึ้นจากแรงผลักดันภายในตัวเองมากกว่าแรงบังคับจากภายนอก คือ ความมีวินัยในตนเอง
ประโยชน์ความมีวินัยในตนเอง
- ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมเป็นระเบียบเรียบร้อย
- ช่วยให้เด็กมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง
- ช่วยสร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ
- ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ตนเอง
- ช่วยให้ครูและนักเรียนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียนการสอน
- ช่วยส่งเสริมหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ลักษณะของบุคคลที่มีวินัยในตนเอง
วินัยเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเพราะช่วยต่อเติมความปรารถนาของเด็กให้เต็ม รวมทั้งให้เกิดการปรับตัวทางบุคลิกภาพและสังคมอย่างมีสุข บุคคลที่มีวินัยในตนเองจะมีคุณลักษณะและพฤติกรรม ดังนี้
1. มีความรับผิดชอบ
2. เชื่อมั่นในตนเอง
3. มีความรู้สึกผิดชอบ
4. ไม่กังวลใจ
5. มีความตั้งใจจริง ใจคอมั่นคง
6. มีลักษณะความเป็นผู้นำ
7. มีความซื่อสัตย์ จริงใจ มีเหตุผล
8. กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ
9. มี่ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและไม่เกรงใจโดยปราศจากเหตุผล
10. มีความอดทน
ความอดทน
ความสำคัญและความหมายของความอดทน
ความอดทน คือ ความเข็มแข็ง ความหนักแน่นของจิตใจในการควบคุมอารมณ์ จิตใจ และร่างกายให้สามารถเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้
การที่บุคคลจะทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ต้องอาศัยการฝึกฝน ความเพียรพยายามและที่สำคัญต้องมีความอดทนในสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบ เพื่องานสิ่งนั้นจะได้สำเร็จลุล่วง การฝึกความอดทนมีหลายอย่าง เช่น อดทนต่อความลำบาก อดทนต่อความทุกข์ อดทนต่อความเจ็บใจ อดทนต่ออำนาจกิเลส ฯลฯ
การที่คนเราจะมีระเบียบวินัยได้ต้องอาศัยความอดทนในตัวเอง จึงนำไปสู่ความเป็นพลเมืองที่ดี ความอดทนจึงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้บุคคลเกิดวินัยขึ้น เช่น การเข้าแถวซื้ออาหาร อดทนในการทำงานต่าง ๆ อดทนและทำตามกฎของบ้านเมือง ผู้ที่มีวินัยในตนเองสูง จะมีความรับผิดชอบสูง มีความวิตกกังวลต่ำ มีความอดทน มีเหตุผลของตนเอง มีความยืดหยุ่นในความคิดและพฤติกรรมทางสังคม
บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
ได้ดำเนินการศึกษาตามลำดับดังนี้
1. ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนในการวิจัยไว้ดังนี้
1. ศึกษาหลักการ ทฤษฏี แนวความคิดเกี่ยวกับความหมาย ประโยชน์ ลักษณะวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. กำหนดกรอบความคิดในการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบความคิด เพื่อทำการศึกษาสภาพความมีวินัยในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
3. กำหนดวัตถุประสงค์
4. กำหนดกลุ่มประชากร สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ได้กำหนดกลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 97 คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 19 คน และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 38 คน ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ รวมเป็นจำนวน 57 คน
5. สร้างเครื่องมือการวิจัย การสร้างเครื่องมือการวิจัย ผู้วิจัยศึกษาจากหลักการ ทฤษฎี แนวคิด วัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกว่าควรสร้างเครื่องมือวัดด้านใดบ้าง ให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ที่ต้องการศึกษา
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามและเก็บข้อมูลด้วยตนเอง
7. การสรุปผลการวิจัยและนำเสนอผลการวิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลและเขียนสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
กลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 97 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 19 คน และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 38 คน ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ รวมจำนวน 57 คน
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อศึกษา “เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
3.1 ศึกษาหลักการ ทฤษฏี แนวความคิดเกี่ยวกับความหมาย ประโยชน์ ลักษณะวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนต่อและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.2 ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบความคิด เพื่อทำการศึกษาสภาพความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย แบ่งแบบสอบถามออกเป็น 3 ส่วน คือ
3.2.1 ความมีวินัยในห้องเรียน
3.2.2 ความขยันอดทน
3.2.3 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามและเก็บข้อมูลด้วยตนเอง
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยใช้ค่าร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในบทนี้ผู้วิจัยจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 57 คน ตามแนวทางการศึกษา เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
ตารางที่ 1 เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน
ข้อ คำถาม ทำประจำ
% ทำบางครั้ง
% ไม่เคยทำ
%
1. ขณะเรียนวิชาหนึ่ง นักเรียนมักนำงานวิชาอื่นขึ้นมาทำ 0 68.42 31.58
2. นักเรียนพูดคุยกับเพื่อนในขณะที่ครูกำลังสอน 8.77 45.61 45.62
3. นักเรียนส่งการบ้านตรงตามเวลาที่ครูกำหนด 75.44 24.56 0.00
4. เมื่อนักเรียนทำข้อสอบไม่ได้ นักเรียนแอบดูข้อสอบเพื่อนในห้องสอบ 0 10.53 89.47
5. นักเรียนแอบนอนหลับในชั่วโมงเรียน 7.01 29.82 63.17
6. นักเรียนเล่นกับเพื่อนขณะที่ครูสอน 0.00 26.32 73.68
7. นักเรียนอ่านหนังสือการ์ตูน ขณะที่ครูสอน 0.00 14.04 85.96
8. นักเรียนลอกการบ้านเพื่อน 0.00 28.07 71.93
9. เมื่อใดที่รู้สึกไม่เข้าใจ นักเรียนจะถามครู 57.89 19.30 22.81
จากตารางที่ 1 จากแบบสอบถามนักเรียน เกี่ยวกับเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน พบว่า
ขณะเรียนวิชาหนึ่ง นักเรียนมักนำงานวิชาอื่นขึ้นมาทำ นักเรียนที่ทำบางครั้ง มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 68.42 %
นักเรียนพูดคุยกับเพื่อนในขณะที่ครูกำลังสอน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 45.62 %
นักเรียนส่งการบ้านตรงตามเวลาที่ครูกำหนด นักเรียนที่ทำประจำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 75.44 %
เมื่อนักเรียนทำข้อสอบไม่ได้ นักเรียนแอบดูข้อสอบเพื่อนในห้องสอบ นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 89.47 %
นักเรียนแอบนอนหลับในชั่วโมงเรียน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 63.17 %
นักเรียนเล่นกับเพื่อนขณะที่ครูสอน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 73.68%
นักเรียนอ่านหนังสือการ์ตูน ขณะที่ครูสอน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 85.96%
นักเรียนลอกการบ้านเพื่อน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 71.93 %
เมื่อใดที่รู้สึกไม่เข้าใจ นักเรียนจะถามครู นักเรียนที่ทำประจำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 57.89 %
ตารางที่ 2 เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านความขยันอดทน
ข้อ คำถาม ทำประจำ
% ทำบางครั้ง
% ไม่เคยทำ
%
10. นักเรียนทำการบ้านเสมอก่อนออกไปเล่น 50.88 31.58 17.54
11. นักเรียนหลีกเลี่ยงงานที่คุณครูมอบหมาย 0 19.30 80.70
12. นักเรียนไม่เคยอดทนทำการบ้าน 15.79 33.33 50.88
13. ในการทดลอง นักเรียนจะพยายามทดลองจนเสร็จ 50.88 33.33 15.79
14. เวลาใกล้สอบ นักเรียนดูหนังสือเอง โดยผู้ปกครองไม่ต้องบังคับ 75.44 15.79 8.77
15. เมื่อนักเรียนทำผิด จะพยายามแก้ไขโดยไม่ท้อแท้ 70.18 24.56 5.26
จากตารางที่ 2 จากแบบสอบถามนักเรียน เกี่ยวกับเจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านความขยันอดทน พบว่า
นักเรียนทำการบ้านเสมอก่อนออกไปเล่น นักเรียนที่ทำประจำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 50.88 %
นักเรียนหลีกเลี่ยงงานที่คุณครูมอบหมาย นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 80.70 %
นักเรียนไม่เคยอดทนทำการบ้าน นักเรียนที่ไม่เคยทำ มีค่าร้อยละมากที่สุด คิดเป็น 50.88 %
ในการทดลอง นักเรียนจ