การประเมินผลโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE
ONE โรงเรียนบางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564
ผู้ศึกษา นายนันทวัฒน์ พุ่มพวง
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียน
บางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยยึดรูปแบบ
การประเมินแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิล บีม ซึ่งประเมินองค์ประกอบ 4 ด้าน 1.1 ด้านสภาวะ
แวดล้อม (Context) 1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 1.3 ด้านกระบวนการ (Process) 1.4 ด้านผลผลิต (Product)
2. ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้
จำนวน 333 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน
11 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 58 คน นักเรียน จำนวน 131 คน และผู้ปกครอง จำนวน 131 คน
โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางของทาโร ยามาเน่ (Yamane) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้
แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
1. ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม
TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564 ในด้านสภาวะแวดล้อม โดยรวมอยู่ใน
ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ
ติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็ง รองลงมา
คือ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน มีระดับ
การปฏิบัติที่ช่วยให้นักเรียนลดความเสี่ยงกับสภาพปัญหายาเสพติด ในสังคมปัจจุบัน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
คือ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน มีการ
ดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายการปฏิบัติด้านยาเสพติดของโรงเรียน คือ การป้องกัน เฝ้าระวัง ดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน
2. ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม
TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564 ในด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในโรงเรียนอย่างเพียงพอ รองลงมา
คือโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน มีแผนงาน
ในการดำเนินกิจกรรมโครงการรณรงค์ชมรมตรงตามยุทธศาสตร์หลักของโครงการ คือ 1) การปลูกจิตสำนึกที่เอื้อ
ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน 3) การสร้าง
และพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ โครงการรณรงค์
ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน มีผู้รับผิดชอบโครงการ
ที่เหมาะสมในการปฏิบัติตามกิจกรรมของโครงการ
3. ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม
TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564 ในด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน เปิดโอกาสให้เยาวชน มีส่วนร่วมในการดำเนินการ รองลงมา
คือ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน มีการ
รณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ทางจิตใจให้แก่ผู้เรียน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม
TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน มีการสรุปรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการได้ถูกต้องเหมาะสม
4. ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม
TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564 ในด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ท่านมีความพึงพอใจในการจัดโครงการรณรงค์ป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน รองลงมาคือ โครงการรณรงค์ป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน ทำให้นักเรียนห่างไกลจากยาเสพติดและ
ลดปัญหาการติดยาเสพติดในสถานศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ผลการดำเนินงาน
โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน
ทำให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นและมีความภาคภูมิใจในตนเองเพิ่มมากขึ้น
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม
TO BE NUMBER ONE โรงเรียนบางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564
ด้านบุคลากรคือ ผู้บริหารในระดับต่างๆ ยังไม่เห็นความสำคัญของโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพติด ขาดความรู้ความเข้าใจ รวมถึงจำนวนผู้ปฏิบัติและผู้ประสานงานโครงการยังไม่เพียงพอ ทำให้การ
ดำเนินการในหลายส่วนขาดความต่อเนื่อง
ด้านงบประมาณคือ งบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรม รวมถึงความล่าช้าของงบประมาณ
ไม่สอดคล้องกับแผนการจัดกิจกรรม
ด้านการบริหารจัดการคือ สถานการณ์โควิด – 19 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังขาดการบูรณาการ
การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ยังไม่ครอบคลุม ข้อมูลเชิงลึกด้านยาเสพติดยังมีน้อย อาจทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรม
โครงการได้ตามสภาพปัญหาที่แท้จริง กิจกรรมที่ดำเนินการยังขาดความต่อเนื่อง ขาดความจริงจังในการปฏิบัติ
รวมถึงการนิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงานยังไม่เป็นรูปแบบที่ชัดเจน
ด้านการจัดกิจกรรมคือ ประชาชนยังมีส่วนร่วมกับกิจกรรมน้อย เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่
เป็นเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษาภาคปกติ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชมรม TO BE NUMBER
ONE โรงเรียนบางปะหัน ประจำปีงบประมาณ 2564
ด้านบุคลากรคือ ผู้บริหาร/ผู้นำควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ
ติด รวมถึงการสนับสนุนทรัพยากรในด้านต่างๆ ให้เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง และการขับเคลื่อนงานควร
มีนักจิตวิทยาเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานด้านจิตใจของเยาวชน
ด้านด้านงบประมาณคือ โดยปกติทุกหน่วยงานมีงบประมาณด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ดังนั้นทุกหน่วยงานควรมีการบูรณาการงบประมาณมาใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งพิจารณาเพิ่ม
งบประมาณจากส่วนกลางมาใช้ดำเนินงานกิจกรรมโครงการ และควรจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานผู้จัด
กิจกรรมโดยตรงเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว
ด้านการบริหารจัดการคือ ควรมีการบูรณาการ โดยให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วม เช่น ศึกษาธิการจังหวัด
ปกครองจังหวัด แรงงานจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนในหน้าที่
รับผิดชอบ แต่ละกิจกรรมโครงการ ควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่จริง อย่างเป็นรูปธรรมและควร
ขยายการดำเนินงานให้ครบทุกพื้นที่ ทุกภาคส่วน เช่น โรงเรียน สถานประกอบการ อย่างต่อเนื่องอย่างเป็น
รูปธรรม รวมถึงขยายสร้างและพัฒนาเครือข่าย โดยเฉพาะเยาวชนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบและเยาวชนที่ไม่อยู่
ในระบบการศึกษา เพราะเยาวชนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เข้าถึงกิจกรรมโครงการน้อยและเป็นกลุ่มสุ่มเสี่ยงต่อการใช้
ยาเสพติดมากกว่ากลุ่มปกติ
ด้านการจัดกิจกรรมคือ ควรจัดกิจกรรมโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มีความ
หลากหลายทั้งในรูปแบบปกติและรูปแบบออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงเยาวชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มนอกระบบ
การศึกษา และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้การป้องกันยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต