เผยแพร่ผลงานวิจัย บทคัดย่อ TADS MODEL
ผู้วิจัย นายวิรัช ชูสิน
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562 - 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยใช้ TADS MODEL โรงเรียนระโนด ปีการศึกษา 2562-2563 วัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานักเรียนให้เห็นคุณค่าในตนเอง โดยใช้ TADS MODEL 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยใช้ TADS MODEL โรงเรียนระโนด หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 3) ศึกษาระดับคุณภาพการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน หลังการพัฒนา โดยใช้ TADS MODEL โรงเรียนระโนด ปีการศึกษา 2562-2563 4) ศึกษาพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน หลังการพัฒนา โดยใช้ TADS MODEL โรงเรียนระโนด ปีการศึกษา 2562-2563 และ 5) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาคีเครือข่าย ต่อการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยใช้ TADS MODEL โรงเรียนระโนด ปีการศึกษา 2562-2563 ระยะเวลาในการดำเนินการพัฒนา 2 ปีการศึกษา โดยเริ่มต้นในเดือน พฤษภาคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2564 ต่อเนื่อง 2 ปีการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) นักเรียน ที่เรียนในปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวนรวม 445 คน 2) ครู ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 48 คน 3) ผู้ปกครอง ในปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวนรวม 445 คน 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวน 13 คน และ 5) บุคลากรภาคีเครือข่าย ปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบ แบบประเมินตนเองของนักเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS VERSION 18 หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ที่ได้รับการพัฒนาในปีการศึกษา 2562-2563 และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่เป็นผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่เป็นผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสมมุติฐาน
2. ระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ปรากฏผล ดังนี้
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับสมมุติฐาน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินตนเองของนักเรียนเกี่ยวกับระดับคุณภาพการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน หลังการพัฒนา ปรากฏผล ดังนี้
ปีการศึกษา 2562 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านเพื่อน และด้านตนเอง อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านครอบครัว มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2563 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านตัวเอง อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านตรอบครัว และด้านเพื่อน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องกับสมมุติฐาน
4. แสดงผลการเปรียบเทียบผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้สังเกต หลังการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน พบว่า ปีการศึกษา 2562 พฤติกรรมที่สะท้อนถึงการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ทั้ง 3 ด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 90.56-93.45 และปีการศึกษา 2563 พฤติกรรมที่สะท้อนถึงการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ทั้ง 3 ด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 94.77-95.54 แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมที่สะท้อนถึงการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรีน ปีการศึกษา 2563 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2562 ทุกด้าน สอดคล้องกับสมมุติฐาน
5. ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยใช้ TADS MODEL โรงเรียนระโนด ปีการศึกษา 2562-2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวม ทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม ทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับสมมุติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 ด้าน Trust : ความไว้วางใจ เชื่อใจ โรงเรียนควรส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้เกิดความเชื่อใจและไว้วางใจที่สอดคล้องกับบริบท และสภาพปัญหาของแต่ละโรงเรียน โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย
1.2 ด้าน Access : ช่องทางการเข้าถึงปัญหาที่มีความซับซ้อน โรงเรียนควรจัดกิจกรรมหรือส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงเพื่อให้เข้าถึงตัวตนและปัญหาของนักเรียน
1.3 ด้าน Development : การพัฒนาโรงเรียนหรือครู ควรนำมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็กมาเป็นแนวทางในการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกมาตรฐาน และเน้นการสร้างวินัยเชิงบวกในการส่งเสริมพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน
1.4 ด้าน Self-esteem : การเห็นคุณค่าในตนเอง การสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนโรงเรียนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพื่อให้เขาได้เกิดความภาคภูมิใจและ เห็นคุณค่าในตนเอง ว่าเขาคิดได้ คิดเป็น และทำได้ เป็นการสร้างการยอมรับและให้โอกาสนักเรียน