LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดฯ

usericon

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE)
    เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด โรงเรียนเชียรใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
    นครศรีธรรมราช
ชื่อผู้ประเมิน : นายสุวิทย์ รักษ์ทอง
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการสถานศึกษา    วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE)เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด โรงเรียนเชียรใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยใช้รูปแบบซิปป์เ(CIPPเModel)เประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าเด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเ2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สถานที่สื่อและวัสดุอุปกรณ์ ระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ และการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการวางแผนและเตรียมความพร้อมการดำเนินงานตามแผน การนิเทศกำกับติดตาม การประเมินผลปรับปรุงพัฒนา การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติดและความ พึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการเได้แก่ นักเรียนเครูเผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนเชียรใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ในปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,357 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 141 คน ประกอบด้วย 1) ครูผู้สอน จำนวน 64 คน 2) ผู้บริหาร จำนวน 4 คน 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 30 คน (สุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก ชั้นละ 5 คน) 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน (ผู้ปกครองนักเรียนที่ถูกเลือกเป้นกลุ่มตัวอย่าง) 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเจำนวนเ5 ฉบับ ได้แก่เแบบสอบถามฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบท ข้อคำถาม จำแนกเป็น 5 ด้าน จำนวน 38 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 แบบสอบถามฉบับที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า จำแนกเป็น 5 ด้าน ข้อคำถาม จำนวน 36 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 โดยแบบสอบถามฉบับที่ 1 และ 2 ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ ประเมินโดยครู ผู้บริหาร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเแบบสอบถามฉบับที่เ3เประเมินด้านกระบวนการ (ประเมินระหว่างดำเนินงาน) ข้อคำถาม จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ประเมินโดยครู ผู้บริหาร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามฉบับที่เ4เประเมินด้านผลผลิตเเกี่ยวกับด้านผลการดำเนินงาน จำแนกเป็น 10 ด้าน (ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ) ข้อคำถาม จำนวน 70 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ประเมินโดยครู ผู้บริหาร ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามฉบับที่เ5 ประเมินความความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อคำถาม จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 ประเมินโดยนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows 16.0 ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
        1. ผลการประเมินบริบทของโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความเป็นไปได้ของโครงการมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
        2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากรของสถานศึกษา ด้านสถานที่ สื่อวัสดุและอุปกรณ์ ด้านงบประมาณและทรัพยากร และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
        3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การวางแผนและเตรียมความพร้อมมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือการดำเนินงานตามแผนเการประเมินผลปรับปรุงพัฒนาเการรายงานผลและประชาสัมพันธ์ และการนิเทศกำกับติดตามผล ตามลำดับ
        4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า โดยรวมมีผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติดอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละด้านพบว่า
            4.1 ด้านผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 10 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 10 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสุขภาพร่างกายมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านสุขภาพจิต ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ ด้านความรู้และทักษะ ด้านทักษะชีวิต และด้านทักษะการแก้ปัญหา ตามลำดับ
         4.2 ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^