รายงานการประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคี
ชื่อผู้รายงาน นางสาวโนรี เจริญผล รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต เขต 1
อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
จากรายงานการประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย(PDCA)ของโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 มี1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย(PDCA)ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย(PDCA)ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) 3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย(PDCA)ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย(PDCA)ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) การประเมินผลโครงการครั้งนี้โดยใช้ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล ) จำนวน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน นักเรียนโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 231 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล) ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 231 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 499 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สำหรับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการ รวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert's Rating Scale) จำนวน 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 สอบถามความเหมาะสมเกี่ยวกับบริบทและปัจจัยนำเข้า จำนวน 23 ข้อ ฉบับที่ 2 สอบถามความเหมาะสมเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน จำนวน 12 ข้อ ฉบับที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับผลผลิต จำนวน 12 ข้อ ฉบับที่ 4 สอบถามความพึงพอใจการประเมินโครงการ จำนวน 14 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (x ̅ ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน พบว่า
ผลการประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย(PDCA)ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน พบว่าผลการ ประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย(PDCA)ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เรียงลำตับจากมาก ไปหาน้อย คือ ผลผลิต กระบวนการ ปัจจัยนำเข้า และบริบท ตามลำดับและเมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านปรากฎผลดังนี้
1. บริบท ในภาพรวมระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 พบว่า ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ การประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 อยู่ในระดับ มากที่สุด สูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 พบว่า ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 อยู่ในระดับ มากที่สุด สูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3. กระบวนการ ในภาพรวมระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต1 พบว่า ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 อยู่ในระดับ มากที่สุด สูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้
4. ผลผลิต ในภาพรวมระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย(PDCA)ของโรงเรียนวัดหนองศาลา (ประชานุxxxล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 อยู่ในระดับ มากที่สุด สูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล) ) โดยภาพรวมของแต่ละข้ออยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล) มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล) มีการวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อศึกษาบริบทของโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล) มีการกำกับติดตามการพัฒนาอบรมครู กิจกรรมอบรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมการอบรมพัฒนาร่วมกับภาคีเครือข่าย การนิเทศติดตามการดำเนินทุกกิจกรรม มีการประเมินและรายงานผลการดำเนินงานของโครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล) มีการสรุปประเด็นของปัญหาการพัฒนาครูสู่มือโดยความร่วมมือของภาคเครือข่ายของโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล) ปีการศึกษา 2563 ข้อที่มีระดับความพึงพอใจน้อยสุดอยู่ใน ระดับมาก คือ มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและหาสาเหตุของปัญหาการพัฒนาครูสู่มือโดยความร่วมมือของภาคเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล) โครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยความร่วมมือของภาคเครือข่าย (PDCA) ของโรงเรียนวัดหนองศาลา(ประชานุxxxล)มีความเหมาะสมกับบริบทของครูและโรงเรียนวัดหนองศาลา มีการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย กิจกรรมสร้างขวัญกำลังใจยกย่องเชิดชูเกียรติ ตามลำดับ