การพัฒนาระบบและกลไกการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณแบบ CODING Model
บทคัดย่อ
การวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์ระบบและกลไกการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณแบบ CODING Model โดยใช้แนวคิด ทฤษฏีเชื่อมโยงความรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รวมทั้งสิ้น 80 คน โดยใช้แบบสอบถามการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ CODING Model แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 46 ข้อ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.966 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.985 ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุแบบเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้นๆ ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฏีเชื่อมโยงความรู้วิชาวิทยาการคำนวณและระบบและกลไกการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณส่งผลต่อทักษะแห่งอนาคตใหม่ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยกิจกรรมการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฏีเชื่อมโยงความรู้วิชาวิทยาการคำนวณและระบบและกลไกการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 52.20 มีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบคือ Y= 0.294 + 1.644(กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฏีเชื่อมโยงความรู้ วิชาวิทยาการคำนวณ)+0.703(ระบบและกลไกการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ)และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z=1.251(กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฏีเชื่อมโยงความรู้วิชาวิทยาการคำนวณ)+0.587 (ระบบและกลไกการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ)
คำสำคัญ : กิจกรรมการเรียนรู้; ระบบและกลไกการเรียนรู้; ทักษะแห่งอนาคตใหม่ในศตวรรษที่ 21