LASTEST NEWS

01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 

รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้

usericon

ชื่อผลงาน     :     รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์”
ผู้รายงาน :     นายอุทัย นุชนวล
ปีการศึกษา    :     2564

        
บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” มีวัตถุประสงค์ เพื่อการประเมินโครงการใน 4 ด้าน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย การประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการ และการประเมินด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 69 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 234 คน และผู้ปกครองนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 234 คน รวมทั้งหมด จำนวน 554 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจหาค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 1 ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.962 ฉบับที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.973 ฉบับที่ 3 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.904 ฉบับที่ 4 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.958 ฉบับที่ 5 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.946 ฉบับที่ 6 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.965 และฉบับที่ 7 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.880 การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการทางสถิติการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1.    ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( X = 4.03 , S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความคิดเห็น ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความเป็นไปได้ของโครงการ ( X = 4.27 , S.D. = 0.72) รองลงมา คือ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ( X = 4.15 , S.D. = 0.74) และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ( X = 3.97 , S.D. = 0.39) ส่วนด้าน ที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ความต้องการจำเป็น ( X= 3.76 , S.D. = 0.83) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.    ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.81 , S.D. = 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คือ ความพร้อม ของบุคลากรและหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ( X= 4.92 , S.D. = 0.26) รองลงมา คือ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ (X = 4.78 , S.D. = 0.40) และความเพียงพอของงบประมาณ ( X = 4.76 , S.D. = 0.44) ส่วนด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ การบริหารจัดการ ( X = 4.67 , S.D. = 0.55) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3.    ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” ตามการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.73 , S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนำผล ไปปรับปรุงพัฒนา (A : Act) (X = 4.78 , S.D. = 0.43) รองลงมา คือ การดำเนินการจัดกิจกรรม (D : Do) (X = 4.77 , S.D. = 0.43) และการวางแผน (P : Plan) ( X = 4.74 , S.D. = 0.44) ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ การติดตามประเมินผล (C : Check) ( X= 4.73 , S.D. = 0.45) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.84, S.D. = 0.37) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ระดับความพึงพอใจ ( X = 4.87 , S.D. = 0.32) รองลงมา คือ ระดับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู (X = 4.86, S.D. = 0.36) และระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน (X = 4.85, S.D. = 0.36) ส่วนที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ระดับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ (X = 4.76 , S.D. = 0.44) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีรายละเอียด ดังนี้
4.1    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ ด้านกายภาพ ด้านวิชาการด้านการบริหารและการจัดการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.76 , S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมาก ไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารและการจัดการ (X = 4.86 , S.D. = 0.34) รองลงมา คือ ด้านกายภาพ (X = 4.72 , S.D. = 0.51) ส่วนด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือด้านวิชาการ ( X= 4.71, S.D. = 0.48) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน    
4.2    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.85, S.D. = 0.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่เป็นสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (X = 4.97 , S.D. = 0.18) รองลงมา คือ นักเรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในห้องเรียนนอกห้องเรียน ( X = 4.95 , S.D. = 0.27) และนักเรียนมีความสามารถในการเลือกใช้วิธีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ( X = 4.92 , S.D. = 0.35) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ นักเรียนมีความยินดีและเต็มใจต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครู เพื่อน และผู้อื่น และมีความต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ( X = 4.64 , S.D. = 0.55) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โดยภาพรวม มีระดับ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.86, S.D. = 0.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมหรือพยายามจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำด้วยตนเอง (X = 4.95 , S.D. = 0.28) รองลงมา คือ ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันร่วมคิด ร่วมทำ ตามกระบวนการกลุ่ม และครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เช่น ห้องสมุด ห้องเรียน ICT ( X = 4.94 , S.D. = 0.31) และครูจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดแบบต่างๆ (X = 4.93 , S.D. = 0.31) ส่วนรายการ ที่มีระดับความคิดเห็นระดับต่ำสุด คือ ครูประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนทุกคน (X = 4.67 , S.D. = 0.50) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.4    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ด้านกายภาพด้านวิชาการ ด้านการบริหารและการจัดการของนักเรียนโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด(X = 4.87 , S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การนำวิทยากรจากภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมจัดการเรียนรู้ (X = 4.98 , S.D. = 0.16) รองลงมา คือ ความปลอดภัยของอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่จัดให้นักเรียนและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจกับชุมชน ( X = 4.97 , S.D. = 0.18) และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน ในการดูแลรักษาความสะอาด และความร่วมมือของผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่น ในการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้และโรงเรียนได้รับการยอมรับและความศรัทธาเชื่อมั่น (X = 4.96 , S.D. = 0.20) ส่วนรายการ ที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ การเปิดโอกาสให้นักเรียน ครูและบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ (X = 4.66 , S.D. = 0.55) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^