โครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนบ้านสบค่อม
อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
ผู้รายงาน : นายอินจันทร์ กองจินา
ปีที่รายงาน : 2564
บทคัดย่อ
การรายงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนบ้านสบค่อม ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน และรายงานความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสบค่อมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
การรายงานโครงการในครั้งนี้ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนบ้านสบค่อม จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของโรงเรียนบ้านสบค่อม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 26 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของโรงเรียนบ้านสบค่อม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 26 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านสบค่อม จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 64 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) และแบบคำถามปลายเปิด มี 4 ชุด คือ ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนบ้านสบค่อม ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง ชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง ชุดที่ 4 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง สถิติที่ใช้ในการรายงาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และแปลความหมายข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนด
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสบค่อม โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมากสุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.51, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.56, S.D. = 0.54) รองลงมาคือด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ( = 4.52, S.D. = 0.54) และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ( = 4.50, S.D. = 0.55) ตามลำดับ ลำดับสุดท้ายคือ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( = 4.41, S.D. = 0.54)
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสบค่อม ปีการศึกษา 2564 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.46) เรียงตามลำดับได้แก่ กิจกรรมต่างๆ ทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์ เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ( = 4.73, S.D. = 0.45) รองลงมาคือ กิจกรรมที่จัดในโครงการ ตรงกับความต้องการของนักเรียน ( = 4.69, S.D. = 0.47) ตามลำดับ ส่วนลำดับสุดท้าย คือ มีสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการมีจำนวนเพียงพอ อยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.39)
3. ครูมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสบค่อม ปีการศึกษา 2564 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.40) เรียงตามลำดับได้แก่ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนได้ ( = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมาคือ ครูได้มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม กับ ผู้บริหารโรงเรียนมีการนิเทศ กำกับ ติดตามโครงการอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ( = 4.80, S.D. = 0.40) ตามลำดับ ส่วนลำดับสุดท้าย คือ งบประมาณมีเพียงพอต่อการจัดซื้อ วัสดุ ครุภัณฑ์สำหรับการดำเนินงานตามโครงการ
อยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D. = 0.00)
4. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสบค่อม ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.43) เรียงตามลำดับได้แก่ โรงเรียนสมควรจะดำเนินการโครงการนี้อย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป ( = 4.77, S.D. = 0.43 ) รองลงมาคือ โรงเรียนได้จัดโครงการเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนตามที่ผู้ปกครองต้องการ ( = 4.73, S.D. = 0.45) ตามลำดับ ส่วนลำดับสุดท้าย คือ ท่านได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการสถานศึกษาพอเพียง ของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมออยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.37)
ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะการดำเนินงาน สรุปความเห็นได้ดังต่อไปนี้
กิจกรรมบริหารงาน 4 งานพอเพียง
ปัญหา/อุปสรรค
1. งบประมาณไม่เพียงพอกับการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ และอาคารสถานที่เพื่อส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาน้อยไป
3. กิจกรรมด้านวิชาการที่เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีน้อยไป
กิจกรรมหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้พอเพียง
ปัญหา/อุปสรรค
1. โรงเรียนขาดแคลนสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
2. ครูยังไม่มีความรู้ด้านเครื่องมือวัด และประเมินผลที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนพอเพียง
ปัญหา/อุปสรรค
1. โรงเรียนไม่ค่อยจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. โรงเรียนไม่มีงานแนะแนวที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง
กิจกรรมพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนพอเพียง
ปัญหา
1. โรงเรียนไม่นำคณะครู และบุคลากรผู้ที่เกี่ยวข้องศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
2. ขาดงบประมาณในการนำบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียงนอกสถานที่