รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งตากล้า(คุรุราษฏร์บำรุงวิทย์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1) ด้านบริบทของโครงการ 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) ด้านกระบวนการของโครงการ 4) ด้านผลผลิตของโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดังนี้ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ข้าราชการครู จำนวน 2 คน ครูอัตราจ้างจำนวน 4 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้แทนครู) นักเรียน จำนวน 39 คน ผู้ปกครองนักเรียน 39 คน รวมทั้งสิ้น 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งตากล้า
(คุรุราษฏร์บำรุงวิทย์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ด้านบริบท (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือสำนักงานเขตพื้นที่มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้งานหรือความเป็นปัจจุบันของการดำเนินงานตามโครงการ รองลงมา คือ ผู้ประสานงานสามารถประสานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมทำงานได้อย่างครบถ้วนคือ ส่วนข้อที่ค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดประชุมปรึกษาหารือทำความเข้าใจในโครงการอย่างต่อเนื่องและชัดเจน
2. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งตากล้า(คุรุราษฏร์บำรุงวิทย์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การกำหนดครูผู้ดูแลนักเรียนในอัตราส่วน 1:20-25 สามารถปฏิบัติได้ครอบคลุม รองลงมา คือ การรายงานข้อมูลของโครงการโดยครูที่ปรึกษาเป็นไปตามปฏิทินที่กำหนด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ คณะกรรมการชุดต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งตากล้า
(คุรุราษฏร์บำรุงวิทย์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ครูที่ปรึกษามีการส่งต่อนักเรียนที่เกินความสามารถของครูที่ปรึกษาไปยังหน่วยงานอื่นทั้งภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน รองลงมา คือ ครูที่ปรึกษาคัดกรองนักเรียนได้อย่างเหมาะสม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวกับได้ทราบ
4. ผลการประเมินการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งตากล้า(คุรุราษฏร์บำรุงวิทย์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แพร่ เขต 2 ด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า โดยรวมภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ออกแบบวิธีการประเมินผลที่หลากหลาย และเป็นการประเมินตามสภาพจริงมากกว่าการประเมินผลจากการสอบเท่านั้น รองลงมาผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดที่บ้านร่วมกับผู้ปกครอง เช่น การปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดี ช่วยเหลืองานในครอบครัว ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โรงเรียนดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนและตัวชี้วัดความสำเร็จ ตามนโยบายของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับสถานศึกษาที่ชัดเจนและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
4.1 การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งตากล้า(คุรุราษฏร์บำรุงวิทย์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 พบว่า โดยรวมภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือจัดกิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนตามสภาพครอบครัว รองลงมาคือ ผู้เรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรม คือ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การส่งเสริม สนับสนุน ผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งตากล้า(คุรุราษฏร์บำรุงวิทย์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาแพร่ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนมีความเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของตนเอง รองลงมา คือ นักเรียนมีความเห็นว่าเป็นโครงการที่พัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหาของนักเรียนในอนาคต และนักเรียนให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรม แก่ทางโรงเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือนักเรียนมีความเห็นว่าเป็นโครงการที่ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมมีจิตสาธารณะและการให้บริการด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อส่วนรวม