การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรีย
ตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา
โรงเรียน บ้านอาจสามารถ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ ในครั้งนี้ได้ผสมผสานกับเทคนิคการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ PAOR แบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research Methodology) เป็นลักษณะการวิจัยเชิงผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรม เพื่อให้ครูคิดสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และการนำเสนอรายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการ PAOR อิงแนวคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Approach) ประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 96 คน มาจาก 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้จัดการศึกษา 2) กลุ่มผู้รับบริการ และ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยได้ดำเนินการศึกษาการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูของครู ประกอบด้วยปัจจัย (Factors) 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 2) การพัฒนาการจัดการความรู้ (Knowledge Management) 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community) 4) การพัฒนาความก้าวหน้าเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (Expert Professional Development) สถิติที่ใช้ในการวิจัยเป็นสถิติพื้นฐาน เช่น การแจกแจงความถี่ (IOC) ค่าเฉลี่ย (x ̅ ) หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. หรือ ) และค่าร้อยละ (%) เป็นต้น นอกจากนี้ได้หาค่าความตรง ความเที่ยง (Reliability) ของเครื่องมือวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมาตราส่วนประมาณค่า รวมถึงการหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา (-Coefficient) เป็นต้น
ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Co efficient) = 0.98 ผู้มีส่วนได้ส่วน (Stakeholders) มีเจตคติพึงพอใจในภาพรวมต่อการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าร้อยละ= 91.94 ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) การพัฒนาการจัดการความรู้ 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ และ 4) การพัฒนาความก้าวหน้าเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ปรากฏว่า สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 2.67, S.D.= 0.671) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (x ̅ = 3.00, S.D.= 0.000) รองลงมาได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (x ̅ = 2.83, S.D.= 0.387) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การพัฒนาการจัดการความรู้ (x ̅ = 2.52, S.D.= 2.054) สภาพพึงประสงค์ โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.29, S.D.= 0.466) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (x ̅ = 4.56, S.D.= 0.514) รองลงมา ได้แก่ การพัฒนาการจัดการความรู้ (x ̅ = 4.41, S.D.= 0.514) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การพัฒนาความก้าวหน้าเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (x ̅ = 4.06, S.D.= 0.614) ส่วนลำดับดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index) ของโรงเรียนบ้านอาจสามารถ เรียงจากความต้องการจำเป็นมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การพัฒนา การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (PNI = 3.56) รองลงมา การพัฒนาการจัดการความรู้ (PNI = 3.41) และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PNI = 3.11) ตามลำดับ สำหรับด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด ได้แก่ การพัฒนาความก้าวหน้าเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (PNI = 3.06) ตามลำดับ