รูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม สพป.อ่างทอง
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนารูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์บูรณาการภาษาอังกฤษของครูตามหน่วยการเรียนรู้ระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของครูปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์บูรณาการภาษาอังกฤษของครูตามหน่วยการเรียนรู้ปฐมวัย 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์บูรณาการภาษาอังกฤษของครูตามหน่วยการเรียนรู้ระดับ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์บูรณาการภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนเชิงรุกของครูระดับปฐมวัย 4) เปรียบเทียบความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้รูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์บูรณาการภาษาอังกฤษของครูตามหน่วยการเรียนรู้ระดับปฐมวัย และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์บูรณาการภาษาอังกฤษตามหน่วยการเรียนรู้ระดับปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครูผู้สอน จำนวน 10 คน และเด็กนักเรียน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์บูรณาการภาษาอังกฤษของครูตามหน่วยการเรียนรู้ระดับปฐมวัย แบบสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และเด็กนักเรียน แบบสัมภาษณ์ ผู้ร่วมวิจัย ครูผู้สอน และเด็กนักเรียน แบบสังเกตการณ์สอน และแบบประเมิน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามวงจรปฎิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน (Planning) 2.ขั้นการปฏิบัติการ (Action) 3) ขั้นการสังเกต (Observation) และ 4) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) ดำเนินการพัฒนา จำนวน 2 วงรอบ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์บูรณาการภาษาอังกฤษของครูตามหน่วยการเรียนรู้ปฐมวัย พบว่า สภาพปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าผลการสร้างรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับปฐมวัย ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบกระบวนการของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล การตรวจสอบรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับปฐมวัยของผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า ความถูกต้องภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความถูกต้องของคู่มือการใช้รูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับปฐมวัยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความ เป็นไปได้ของคู่มือการใช้รูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับปฐมวัยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับปฐมวัย พบว่า ก่อนการนิเทศภาพรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการอบรมนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับปฐมวัยพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูระดับปฐมวัย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนบูรณาการภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.57, S.D.=0.53)
โดยสรุป รูปแบบกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์บูรณาการภาษาอังกฤษของครูตามหน่วยการเรียนรู้ระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ส่งผลให้ครูผู้สอนปฐมวัย สามารถจัดประสบการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง เด็กได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพ ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนปฐมวัย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงควรพัฒนาการจัดประสบการณ์ดังกล่าว เพื่อให้การจัดประสบการณ์บูรณาการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น