รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทพนรรัตน์
ผลการประเมินพบว่าโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทพนรรัตน์(อู๋ไพจิตรเรียบร้อยเจริญ) ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบ CIPP Model ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ด้านบริบท และด้านปัจจัย เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการ พบว่า โครงการประสบความสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) กิจกรรมโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเป็นรูปแบบในการพัฒนาบุคลากร โครงการนิเทศภายในโรงเรียนมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจของโรงเรียน และโครงการนิเทศภายในโรงเรียนได้รับการยอมรับส่งเสริมจากครู และบุคลากรภายในโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.90, ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน = 0.30) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป แสดงว่า การประเมินโครงการด้านนี้ประสบความสำเร็จ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) โรงเรียนมีห้องเรียนเพียงพอ กับจำนวนนักเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญชี้แจงนโยบายของการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียน และบุคลากรมีความพร้อมและความรับผิดชอบในการบริหารงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.89, ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน = 0.18) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป แสดงว่าการประเมินโครงการด้านนี้ประสบความสำเร็จ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) งบประมาณมีความเหมาะสมกับกิจกรรมโครงการนิเทศภายในโรงเรียนอย่างเพียงพอ โครงการนิเทศภายในโรงเรียน อยู่ในแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างชัดเจน และโครงการนิเทศภายในได้ดำเนินการใช้เทคนิควิธีการนิเทศที่หลากหลายเหมาะสมกับสถานการณ์ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.90, ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน = 0.26) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป แสดงว่า การประเมินโครงการด้านนี้ประสบความสำเร็จ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) โครงการนิเทศภายในโรงเรียนมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านวิชาการ ครูนำความรู้จากการนิเทศไปใช้แก้ปัญหาการเรียนการสอน ครูพัฒนาการเรียนการสอนหรือการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.07, ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน = 0.26) และผลการประเมินด้านความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการ นักเรียนและเพื่อนๆ ร่วมกันสรุปผลงานของกลุ่มนักเรียน มีโอกาสศึกษาหาความรู้และข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งเรียนรู้และวิทยากรท้องถิ่น ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนทบทวนความรู้เดิมและประสบการณ์เดิม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.95, ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน = 0.26) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป แสดงว่า การประเมินโครงการด้านนี้ประสบความสำเร็จ