รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งค
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งคมบาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งคมบาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ดำเนินการประเมินใน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งคมบาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 108 คน โดยการกำหนดขนาดตามกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งคมบาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านบริบท รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า จำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติได้ รองลงมาคือโครงการมีความสอดคล้องกับแผนงานและนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษา และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โครงการได้รับการยอมรับและการสนับสนุนและจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ผู้บริหาร ครู ชุมชน มีแผนการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ รองลงมาคือ มีหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้จัดกิจกรรม เช่น คอมพิวเตอร์สืบค้นภายในห้องสมุด
3. ด้านกระบวนการของโครงการมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดกิจกรรม รองลงมาคือ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ และชัดเจน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การประเมินผลการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม
4. ด้านผลผลิตของโครงการมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายการประเมินด้านคุณภาพ พบว่าคุณภาพผู้บริหาร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารเป็นผู้นำในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รายการประเมินด้านคุณภาพครู ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการบูรณาการการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน รายการประเมินด้านคุณภาพนักเรียน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนใช้เวลานอกเวลาเรียนในการอ่านหนังสือเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 60 นาที และรายการประเมินด้านคุณภาพโรงเรียน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่าน และการเรียนรู้ รายการประเมินด้านนิสัยรักการอ่าน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนอ่านหนังสือ สิ่งพิมพ์ ประกาศต่าง ๆ อย่างตั้งใจ
ข้อเสนอแนะการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งคมบาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 พบว่า ด้านบริบท
ควรศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่ประสบความสำเร็จ จัดให้มีการอบรม ให้ความรู้ผู้ปกครอง/ชุมชนเห็นควรสำคัญของการอ่าน ครูทุกคนได้รับการอบรม ประชุม สัมมนา เกี่ยวกับการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และมีแผนการดำเนินงานส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้านปัจจัยนำเข้า ควรจัดงบประมาณเพียงพอและเหมาะสมในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
มีคอมพิวเตอร์ไว้สืบค้นในห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น มีหนังสือใหม่ ๆ เพียงพอกับความต้องการของนักเรียนและบริการชุมชน และจัดหาเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุดตลอดเวลามากยิ่งขึ้น ด้านกระบวน
การควรประสานขอความร่วมมือและสนับสนุนจากชุมชน/องค์กรต่าง ๆ ส่งเสริมการอ่านทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน และชุมชน ให้มีประสิทธิภาพ จัดกิจกรรมที่หลากหลายแปลกใหม่ เพื่อกระตุ้น แรงจูงใจให้อยากอ่าน และสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของการอ่านกับทุกฝ่ายมากยิ่งขึ้น และด้านผลผลิต ควรมีคอมพิวเตอร์ช่วยสืบค้น จัดหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สร้างสภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่าน และมีกิจกรรมที่นักเรียนสนุกสนาน และกล้าแสดงออก มากยิ่งขึ้น