เผยแพร่ผลงานวิชาการของนางสาวนันทรัตน์ คงทน
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวนันทรัตน์ คงทน รองผู้อำานวยการโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบซิปป์โมเดล ของ
สตัฟเฟิลบีม ในการประเมินโครงการโดยมีวิธีดำเนินการประเมิน ดังนี้ แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ และประเมินด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรม
ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา และ
ระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินพฤติกรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน 517 คน ใช้เครื่องมือประเภทแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ตามรูปแบบของลิเคิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของโครงการ
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของผู้อำานวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความเหมาะสมและความเพียงพอของกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมและความเพียงพอของอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำาหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ การดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การวางแผน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ การติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช มี2 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตัวชี้วัด พฤติกรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับ คุณภาพ ดี– ดีเยี่ยม 99.36% ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีระดับคุณภาพ ดี– ดีเยี่ยม 100% จำนวน 3 ข้อ คือ ข้อที่ 1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ข้อที่ 5 อยู่อย่างพอเพียง และข้อที่ 7 รักความเป็นไทย
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำาหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ โรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ โรงเรียนดำเนินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินโครงการวิถีพุทธ วิถีไทย ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนทางพูนวิทยาคาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด