รายงานการนิเทศ ติดตามการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืน
การนิเทศ ติดตามการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของคู่มือการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 2) ศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมของผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม 3) ศึกษาความสามารถในการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารและครูที่มีต่อการกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืน เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม และ 6) ศึกษาความ พึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 42 คน 2) ครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม จำนวน 42 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 717 คน และ 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 717 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) คู่มือการนิเทศแบบ PIDRE การจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 2) คู่มือการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 3) แบบนิเทศ ติดตามและตรวจสอบการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 4) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหารและครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืน เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. คู่มือการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมมีประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพผลผลิต (E2) เท่ากับ 83.60/81.07 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผู้เข้ารับการอบรมการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมมีคะแนนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. โรงเรียนมีความสามารถในการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืนเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผู้บริหารและครูมีความพึงพอใจต่อการนิเทศแบบ PIDRE ต่อกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE การพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืน เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืน เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
6. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมโรงเรียนดีมีที่ยืน เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด