รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในแบบ PLC วิถีน้ำ
ชื่อผู้รายงาน นายเอกชัย สุภา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในแบบ PLC วิถีน้ำพาง โรงเรียนบ้านน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในแบบ PLC วิถีน้ำพาง ใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และเพื่อประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในแบบ PLC วิถีน้ำพาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้มาด้วยการกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้ตาราง เครจซี่และมอร์แกน (R.V. Krejcie and D.W. Morgan) ได้แก่ นักเรียน จำนวน 76 คนและผู้ปกครอง จำนวน 76 คน ปีการศึกษา 2564 รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 152 คน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูและบุคลากร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 9 คน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 173 คน ใช้รูปแบบการประเมินโครงการของ สตัฟเฟิลบัม (Daniel L.Stufflebeam) ที่มีชื่อว่า CIPP Model เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 1) แบบประเมินโครงการ จำนวน 6 ฉบับ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ, ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ, S.D.) ดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอแบบพรรณนาความ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ
ผลการประเมิน ปรากฏดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และอยู่ในระดับ ที่สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน
4. ด้านผลผลิตของโครงการ โดยการประเมินความคิดเห็นของครูและบุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในแบบ PLC วิถีน้ำพาง พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการอยู่ในระดับมากทุกด้าน เนื่องจาก บุคลากรผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศภายใน แบบ PLC วิถีน้ำพาง และปฏิบัติกิจกรรมได้เหมาะสมกับศักยภาพนักเรียน และบริบทของโรงเรียน อีกทั้งการปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าว ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ และคิดคำนวณ มากขึ้น และสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการคิด และการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีบุคลากรเพียงพอในการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศภายใน แบบ PLC วิถีน้ำพาง ให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรม และครูมีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยนำสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ และนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม