รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านห้วยคุ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
ผู้รายงาน นายอดิศักดิ์ ศรีอ่อน
ปีการศึกษา 2564
การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยคุ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) โดยประยุกต์การดำเนินงานตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 265 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ครูผู้ปฏิบัติงานโครงการ จำนวน 18 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 134 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อรายงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยคุ สำหรับครูผู้ปฏิบัติงานโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยคุ สำหรับนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ("x" ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยคุ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.78, S.D. = 0.39) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ สถานศึกษามีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2552 โดยเสนอโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในส่วนของงานบริหารด้านวิชาการ ("x" ̅ = 4.94, S.D. = 0.24 สรุปด้านบริบท (Context) เท่ากับผ่านเกณฑ์
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.73, S.D. = 0.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานชัดเจนในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสม ("x" ̅ = 5.00, S.D. = 0.00) สรุปด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เท่ากับผ่านเกณฑ์
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) มีผลการประเมินดังนี้
3.1 ความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.77, S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ ขั้นการดำเนินงานของโครงการ ("x" ̅ = 4.79, S.D. = 0.40) สรุปด้านกระบวนการ (Process) เท่ากับผ่านเกณฑ์
3.2 ความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงานของกิจกรรมตามโครงการ โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.73, S.D. = 0.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดในระดับมากที่สุด คือ กิจกรรมตรวจสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน ("x" ̅ = 4.94, S.D. = 0.20) และกิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ("x" ̅ = 4.90, S.D. = 0.30) สรุปด้านกระบวนการ (Process) เท่ากับผ่านเกณฑ์
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานด้านผลผลิตเกี่ยวกับการสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อ
ด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยคุ โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.81, S.D. = 0.31) โดยรายการที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านคุณภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ("x" ̅ = 4.94, S.D. = 0.13) รองลงมาคือ ด้านคุณภาพของนักเรียน ("x" ̅ = 4.80, S.D. = 0.38) และด้านการปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ("x" ̅ = 4.70, S.D. = 0.42) สรุปด้านผลผลิต (Product) เท่ากับผ่านเกณฑ์
4.2 ผลการดำเนินงานด้านผลผลิตเกี่ยวกับการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยคุ ด้านคุณภาพของนักเรียน และการมีส่วนร่วมในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมากที่สุด ("x" ̅ = 4.74, S.D. = 0.50) เมื่อได้พิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ข้อรายการที่มีระดับเหมาะสมสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านคุณภาพของนักเรียน ("x" ̅ = 4.77, S.D. = 0.46) รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.71, S.D. = 0.53) ตามลำดับ สรุปด้านผลผลิต (Product) เท่ากับผ่านเกณฑ์
4.3 ผลการดำเนินงานด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยคุ เกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน และการมีส่วนร่วมในภาพรวม มีความพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.67, S.D. = 0.48) เมื่อได้พิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อรายการที่มีระดับความพึงพอใจสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วม ("x" ̅ = 4.65, S.D. = 0.48) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน โดยนักเรียนมีความร่าเริง แจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ และปรับตัว ("x" ̅ = 4.74, S.D. = 0.45) นักเรียนมีการปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชนตามบทบาทหน้าที่ ("x" ̅ = 4.73, S.D. = 0.46) และการมีทักษะอาชีพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ("x" ̅ = 4.70, S.D. = 0.47) ตามลำดับ สรุปด้านผลผลิต (Product) เท่ากับผ่านเกณฑ์