รายงานการประเมินโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์
ผู้รายงาน นางสาวจันจิรา ทองสง่า
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ 2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ 3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ 4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ 5. เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ 6. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครู
รูปแบบของการประเมินโครงการใช้รูปแบบจำลอง CIPP Model ซึ่งเป็นการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ประเมินในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนจำนวน 76 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,033 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีทั้งหมด 6 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ฉบับที่ 2 แบบประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ฉบับที่ 3 แบบประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ฉบับที่ 4 แบบประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ฉบับที่ 5 แบบการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ฉบับที่ 6 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครู การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย ซึ่งผลการประเมินโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ พบว่า ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.47, σ=0.62)
2. การประเมินโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ พบว่า ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.37, σ=0.64)
3. การประเมินโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ พบว่า ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.50, σ=0.57)
4. การประเมินโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ พบว่า ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.47, σ=0.61)
5. การประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.43, σ=0.61)
6. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.51, σ=0.65)
https://drive.google.com/file/d/1YJj8h5fzonqNKitUhTugQ_LYfqjNxp-6/view?usp=sharing