การประเมินโครงการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษารูปแบบดิจิทัล
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของการดำเนินโครงการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษารูปแบบดิจิทัลโรงเรียนเกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ผู้ประเมินได้ใช้วิธีการประเมินตามแนวคิดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และครูผู้สอนของโรงเรียนเกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 658 คน จำแนกเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 300 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 278 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน และผู้บริหาร ครูผู้สอน จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมานค่า 5 ระดับ (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา
1. การประเมินโครงการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษารูปแบบดิจิทัลโรงเรียนเกาะสมุยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ด้านบริบท และด้านปัจจัยนำเข้า
2. การประเมินโครงการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษารูปแบบดิจิทัลโรงเรียนเกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ด้านบริบท พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ตัวชี้วัดความสอดคล้องของกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ และตัวชี้วัดความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายต้นสังกัด
3. การประเมินโครงการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษารูปแบบดิจิทัลโรงเรียน เกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่ได้ระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ ตัวชี้วัดงบประมาณในการดำเนินโครงการและบุคลากรในการดำเนินโครงการ
4. การประเมินโครงการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษารูปแบบดิจิทัลโรงเรียนเกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ด้านกระบวนการ พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดด้านการประเมินผลโครงการและการปรับปรุง การจัดกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการและการวางแผนของโครงการ
5. การประเมินโครงการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษารูปแบบดิจิทัลโรงเรียนเกาะสมุยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ด้านผลผลิต ทั้ง 2 ตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จผลของการจัดกิจกรรม โครงการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษารูปแบบดิจิทัลโรงเรียนเกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร และ ตัวชี้วัดความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน เกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, การนิเทศภายในสถานศึกษา, รูปแบบดิจิทัล