รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINK
โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 – 2564
ผู้รายงาน นางสาวนันทรัตน์ ไพรัตน์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
ปีการศึกษา 2563-2564
บทสรุป
รายงานประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการ 5 THINK โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 – 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินโดยประเมิน 4 ด้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) 1) ระดับคุณภาพการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINK โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 – 2564 2) ระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ปีการศึกษา 2563 –2564 3) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2564 4) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINK โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 – 2564 5) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 5.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (GPA) ปีการศึกษา 2563-2564 5.2)สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาปีการศึกษา 2563-2564 5.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2563- 2564
โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 278 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 285 คน ครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 44 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 41คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 278 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 285 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2563-2564 จำนวน 13 คน และคณะกรรมการนิเทศภายในปีการศึกษา 2563-2564 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 10 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.87-0.95 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563-2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน ปีการศึกษา 2563-2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา2563- 2564 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINK
โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 - 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2563 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X = 9.59,.D.=0.15 อยู่ในระดับมากที่ สุด และปีการศึกษา 2564 มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x = 4.62,.D.= 0.15) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนปีการศึกษา 2563คณะกรรมการนิเทศภายใน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.62, S.D. =0.13 อยู่ในระดับมากที่สุดและปีการศึกษา 2564 คณะกรรมการนิเทศภายใน ความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.65, S.D. =0.16อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINKโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 - 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณา พบว่าปีการศึกษา 2563 คณะกรรมการนิเทศภายในมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X = 4.60,S.D. = 0.12) ในระดับมาก ได้ คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2563คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X = 4.46, S.D.=0.15) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5THINK โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 - 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียนผู้ปกครองและครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.62, S.D.=0.11) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้านพบว่าปีการศึกษา 2563 ด้าน Think proactive คิดเชิงรุก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X = 4.70, 5.D.0.22) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้าน Think different คิดประชันความต่าง (X = 4.69, S.D.-0.20) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้าน Think creative fun คิดให้สนุกอย่างสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย (X = 4.58, S.D. =0.26 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้าน Think of competition คิดแนวทางการแข่งขัน มีค่าเฉลี่ย (X = 4.56, S.D. =0.27 อยู่ในระดับมากที่สุด และด้าน Think for sustainability คิดก้าวย่างเพื่อคุณภาพยั่งยืน มีค่าเฉลี่ย (X = 4.54,S.D.= 0.32 อยู่ในระดับมากที่สุด และปีการศึกษา 2564 ด้าน Think proactive คิดเชิงรุก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X = 4.72, S.D.-0.23) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้าน Think different คิดประชันความต่าง ( X = 4.70, S.D.- 0.21) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้าน Think creative fun คิดให้สนุกอย่างสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.59, S.D. =0.28 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้าน Think of competition คิดแนวทางการแข่งขัน มีค่าเฉลี่ย ( X = 9.58, S.D. =0.28 อยู่ในระดับมากที่สุด และด้าน Think for sustainabilityคิดก้าวย่างเพื่อคุณภาพยั่งยืน มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.56, S.D.=- 0.33 อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ระดับคุณภาพโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINK โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 - 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่าปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย X = 4.54, S.D. - 0. 71) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ ( X = 4.64, S.D. 0.80 อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 ระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ โดยใช้กระบวนการ 5 THINK ปีการศึกษา 2563 - 2564ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ ( X = 4.55, S.D.=0.20) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ ( X = 4.58, S.D. = 0.21 อยู่ในระดับมากที่ สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนหารเหารังสีประชาสรรค์ โดยใช้กระบวนการ 5 THINK ปีการศึกษา 2563 - 2564 พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีคำเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ย ( X = 4.60, S.D. = 0.1 7 อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ย ( X = 4.58,S.D.- 0.16) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINKโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 - 2564 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (X = 4.58, S.D.=0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า การสนับสนุนให้ครูใช้ภาวะผู้นำหรือการปรับปรุงโรงเรียนและการเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X = 4.75, 5.D. -0.43) อยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมา คือการสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระบบการทำงานกับเทคโนโลยีเพื่อให้ครูสามารถใช้งานได้ทันความต้องการ มีค่าเฉลี่ย (X - 4.73.S.D.=0.44)อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบทีมในการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานด้วยกระบวนการ 5 คิด มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.37, S.D. =0.72) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
4.5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย GPAร้อยละ3.25 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย GPA ร้อยละ 3.55 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.2 สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี,ดีเยี่ยม ร้อยละ 98.02 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินและปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี,ดีเยี่ยม ร้อยละ 99.45 ได้คะแนนรวม
เฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา
2563 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี,ดีเยี่ยม ร้อยละ 91.12 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี,ดีเยี่ยมร้อยละ 98.86 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการ 5 THINK โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 - 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปปั (CIPP Model) มีค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 98 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาการประเมินโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINK โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 – 2564 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ควรดำเนินการประเมินโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINK โรงเรียนหารเทา รังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 – 2564 ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปีการศึกษา
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับ การสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
4. โรงเรียนควรพัฒนาการประเมินโครงการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการ 5 THINK โรงเรียน หารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 – 2564 โอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ พัฒนาสู่นวัตกรรมของโรงเรียน และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสามารถเป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นได้
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการหรือการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรนำรูปแบบการประเมินโครงการของ CIPP Model ไปปรับใช้กับการประเมินโครงการอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื่องจากสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป
2. ควรมีการประเมินโครงการเชิงสาเหตุเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุหรือปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการ ซึ่งจะทำให้เป็นแนวทางการนำมาปรับปรุงพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
3. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Mode) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
4.ควรมีกิจกรรมพัฒนาครูผู้สอนสู่การสร้างนวัตกรรมที่สามารถเป็นแบบอย่างได้
5.ควรนำปัจจัยเชิงบวกมาพัฒนาสู่การสร้างวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของนักเรียนและครูผู้สอนต่อไป