การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนตรังรังสฤษฎ์โดยใช้รูปแบบ
ผู้ประเมิน นางนราวัลลภ์ ทองพันธ์
รองผู้อำนวยการโรงเรียนตรังรังสฤษฎ์
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนตรังรังสฤษฎ์ โดยใช้รูปแบบกัลยาณมิตรนิเทศ ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการในด้านพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประยุกต์รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 242 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 25 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6จำนวน 140 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 70 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.88 - 0.99 และแบบบันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS)ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมิน พบว่า ประเด็นการประเมินทุกตัวชี้วัด และภาพรวมของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ
1. สภาพแวดล้อมของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินรายตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานอยู่ในระดับมากที่สุด
1.4 ความเป็นไปได้ของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และและมีผลการประเมินรายตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ความพร้อมของบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความเพียงพอของงบประมาณอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์อยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ความเหมาะสมของการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด
2.5 หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
3. กระบวนการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินรายตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 การวางแผนอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 การดำเนินงานตามแผนอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 การติดตาม ประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด
3.4 การนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมาก และมีผลการประเมินตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 พฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูอยู่ในระดับมาก
4.3 พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน อยู่ในระดับมาก
4.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนระดับสถานศึกษาสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 3.04 และสูงกว่าปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 3.15 หมายถึงครูได้รับการพัฒนาตามโครงการส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สูงขึ้น
4.5 ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก มีผลความพึงพอใจแต่ละกลุ่มประเมิน ดังนี้
4.5.1 ความพึงพอใจของครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก
4.5.2 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก
4.5.3 ความพึงพอใจของผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก
4.5.4 ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาองค์กร
2. ผู้บริหารควรกำหนดมาตรการ การกำกับ ติดตามให้ครูผู้สอนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
3. ควรมีการสนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเอง ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อนำความรู้มาพัฒนานักเรียน
4. โรงเรียนควรจัดระบบการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อพัฒนาโรงเรียนสู่การประกันคุณภาพ
5. ควรมีการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบอื่นๆ
6. ควรศึกษาถึงปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน