การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม
The Development of Model for Participating Strategic Administration of The School for Raising the Educational Quality of Ban Nongnahai Nonsa-ard School Under the Office of Udon Thani
Primary Education Service Area 1
พินิจ สุขใจ
Pinit Sukjai
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา (3) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และ (4)ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความจำเป็น โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนและตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด จำนวน 23 คน ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาผลการใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนและตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด จำนวน 23 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 15 องค์ประกอบ คือ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) ความเป็นเลิศวิชาการ (3) การจัดการเรียนรู้โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชา (4) การจัดการเรียนการสอนให้มีความเป็นสากล (5) การพัฒนาสู่ความยั่งยืน (6) 1 คน 1 ผลการปฏิบัติงานเป็นเลศ และ 1 นวัตกรรม (7) การสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (8) ความสามัคคี (9) ระบบการบริหารจัดการ รูปแบบ ADDIE (10) การบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นแบบมีส่วนร่วม A-I-C (11) การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ (12) ระบบการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (13) องค์การมีชีวิต (14) การประชาสัมพันธ์ และ (15) ระบบการการวัดและประเมินผล
2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนและตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด มีความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม โดยพบว่า การปฏิบัติการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมที่จำเป็นต้องมีสูงกว่าการปฏิบัติการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน
3. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (Natural of Student) (2) ความเป็นเลิศวิชาการ (Highest Academic) (3) การจัดการเรียนรู้โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชา (National of King's philosophy Policy) (4) การจัดการเรียนการสอนให้มีความเป็นสากล (Universally of Education) (5) การพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Development Stronger Together) (6) 1 คน 1 ผลการปฏิบัติงานเป็นเลศ และ 1 นวัตกรรม (1 people 1 practice 1 Innovation) (7) การสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (Network on PLC) (8) ความสามัคคี (Unity) (9) ระบบการบริหารจัดการ รูปแบบ ADDIE (Management by ADDIE System) (10) การบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นแบบมีส่วนร่วม A-I-C (Base Participation on A-I-C) (11) การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ (Environment in Quality) (12) ระบบการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (Refection System) (13) องค์การมีชีวิต (Organization of Life) (14) การประชาสัมพันธ์ (News) และ (15) ระบบการการวัดและประเมินผล (Evaluation System) หรือ NHNUD1NUMBER ONE ผลการประเมินรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องเหมาะสม เป็นได้ในการปฏิบัติ และเป็นประโยชน์ในระดับมากและมากที่สุด
4. ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่า ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับดีมาก
คำสำคัญ (Keywords) : รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม และคุณภาพการศึกษา
Abstract
The objectives of this research were (1) to study the factors of participating strategic administration for the school, (2) to study the needs on participating strategic administration for school on raising educational quality, (3) to create the participating strategic educational administrative model for educational quality raising and (4) to study the results on usage of participating strategic administrative model of school for raising the educational quality by the steps of research as 1. a study on the factors and indicators by interview the purposive groups, experts and specialists for 9 persons 2. a study current of current situations on needs and necessity by using the questionnaires, administrators, teachers and representative of educational committee of Ban Nongnahai Nonsa-ard School for 23 persons 3. modeling and model development by being on depending on the experts for 6 persons and 4. a study on the usage of model, purposive groups as the administrators, teachers and representative of committee of Ban Nongnahai Nonsa-ard School for 23 persons.
The results of findings were as follows :
1. The factors of model on participating strategic of administration for school on raising the educational quality of Ban Nongnahai Nonsa-ard School Under the Office of Udon Thani Primary Education Service Area 1 which composed of 15 factors as (1) recognizing of baby student, (2) academic excellency, (3) learning of bringing the philosophy of the king on use, (4) performance on learning and teaching on universality, (5) the development for long lasting, (6) the practice of 1 person for 1 excellency and 1 innovation, (7) the creation of professional learning network, (8) harmony, (9) administrative ad ADDIE model, (10) school administration on A-I-C for participation, (11) the creation of quality environment, (12) the system op operational resonance, (13) living organization, (14) information and (15) the systems of estimation and evaluation.
2. the administrators and teachers and time representative of the committee of Ban Nongnahai Nonsa-ard School need and having necessity on participating strategic school administration for ranging educational quality as knowledge, skills and attitude on participating strategic administration of school. The participating strategic administration was on higher more than in the present as it was true.
3. The model of participating strategic administration of school for raising educational quality of Ban Nongnahai Nonsa-ard School Under the Office of Udon Thani Primary Education Service Area 1 included (1) nature of student, (2) highs academy, (3) national of king’s philosophy policy, (4) universality of education (5) development stronger to gather, (6) 1 people 1 practice 1 innovation, (7) network on PLC (8) unity, (9) management by ADDIE system, (10) base participation on A-I-C, (11) environment in quality, (12) refection system, (13) organization of life, (14) news, (15) evaluation system. The results on model evaluation by the experts was founded that the developing model was appropriate and possible on practice and on advantages for high and the highest level.
4. The results on using participating strategic administrative model of school for raising the educational quality of Ban Nongnahai Nonsa-ard School Under the Office of Udon Thani Primary Education Service Area 1 were founded that the satisfaction towards the usage of model was in the high level.
Keywords : The Model for Participating Strategic Administration and The School for Raising the Educational Quality